Page 16 - b29420_Fulltext
P. 16

กล่าวได้ว่ากระบวนการเลือกตั้งที่ผ่านมาในสังคมไทยยังไม่ปรากฎชัดเจนว่าบทบาทของผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน

               การมีส่วนร่วมส่งเสริมให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพอยู่

               ตรงช่วงใด จากวงจรการเลือกตั้งจะเห็นได้ว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีเพียงบทบาทในการรับฟังและไปใช้สิทธิ

               เลือกตั้งเท่านั้น โดยที่การไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องมี
               โทษเสียสิทธิตามกฎหมายบางประการ ส่งผลให้จำนวนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่สามารถสะท้อนเจตจำนงของผู้ไป

               ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ว่าเป็นเพราะความสนใจความตระหนักในศักยภาพทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างแท้จริง

               หรือเป็นเพราะไปเลือกตั้งตามหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้วโอกาสที่การเลือกตั้งจะเป็นไป

               อย่างมีคุณภาพ เป็นไปโดยสำนึกของความเป็นพลเมืองในการสร้างความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อนั้น

               ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน


                       จากสถานการณ์การเลือกตั้ง ปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง และแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
               ข้างต้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการเลือกตั้ง

               ที่มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักในศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

               ทางการเมืองโดยสันติวิธีผ่านการเลือกตั้งให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยนำเอากระบวนการจัดเวทีเสวนาตามแนวคิด

               ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) มาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมช่องว่างการมีส่วนร่วม

               ทางการเมือง (political participation) ในกระบวนการเลือกตั้งให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพิ่มพื้นที่การปรึกษาหารือ
               ระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง

               ภายหลังการเลือกตั้งเท่านั้น (อาทิ การติดตามถอดถอนทางการเมือง เป็นต้น) เพราะเราตระหนักว่าบทบาทของ

               ประชาชนมีความสำคัญแต่กลับยังไม่ได้รับการส่งเสริมผลักดันอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเลือกตั้งที่ผ่านมา หาก

               ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบถึงความสำคัญของพวกเขาต่อการสร้างการเลือกตั้งให้สร้างสรรค์และมี

               ประสิทธิภาพ ทราบหนทางและช่องทางที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงาน

               ของรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างการเลือกตั้ง และมีโอกาสที่จะให้ข้อมูลหรือคัดค้านแผนและการตัดสินใจ ตลอดจนมี
               พื้นที่ให้แก่พวกเขาได้เข้าไปร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะสามารถสนับสนุน

               การพัฒนาประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่ (Linda Soneryd and Elisabeth Lindh, 2018, p. 230-246)


                       สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดทำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียงขึ้น มีเป้าหมายเพื่อ 1) สร้างความรู้ความตระหนักถึงความสำคัญของการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง 2)

               ส่งเสริมการหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ 3) ลดการซื้อสิทธิขายเสียง และ 4) ส่งเสริมความสมานฉันท์การเลือกตั้งเพื่อ
               เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยได้ทดลองดำเนินโครงการนี้ครั้งแรกใน

               การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเทศบาลตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยกิจกรรม



                                                                                                            6
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21