Page 19 - b29420_Fulltext
P. 19
4. เพื่อพัฒนาตัวแบบ (model) ของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สำหรับ
ขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป
สมมติฐานในการวิจัย
งานวิจัยชิ้นนี้มีสมมติฐานการวิจัย 2 ประการ
1) โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับพื้นที่
ที่เข้าร่วมโครงการได้ ในแง่ความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ การซื้อเสียงลดลงและเกิดความ
สมานฉันท์แม้เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไป
2) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ ด้านความรู้ความ
เข้าใจ ทัศนคติพฤติกรรม วัฒนธรรม กลุ่มผลประโยชน์ และระดับปฏิบัติการ เป็นต้น
คำถามวิจัย
คำถามวิจัยหลัก
1. พื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการมีความ
เปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นบ้าง
2. เงื่อนไขปัจจัยใดที่ส่งเสริมหรือท้าทายต่อการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงให้ประสบความสำเร็จและได้รับการขยายผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
คำถามวิจัยรอง
1. รูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิของแกนนำเป็นอย่างไร เป็นไป
ตามทฤษฎีสานเสวนาหรือไม่ มีสิ่งใดที่แตกต่างกันบ้าง
2. คนในชุมชนทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบและให้ความร่วมมือกับกระบวนการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่ในรูปแบบใด
3. คนในชุมชนทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียง บทบาทของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับ
คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยรวมหรือไม่ อย่างไร
4. มีวัฒนธรรมใดในชุมชนที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
เช่น วัฒนธรรมหัวคะแนน วัฒนธรรมญาติพี่น้องคนรู้จัก วัฒนธรรมการอุปถัมภ์ เป็นต้น
5. ผลประโยชน์ที่คนในชุมชนคาดหวังว่าจะได้รับจากการเลือกตั้งคืออะไร
9