Page 18 - b29420_Fulltext
P. 18

ที่       อำเภอ           การรณรงค์การเลือก                      พื้นที่เป้าหมาย

                                                                     1.7 บ้าน 7 เลือกตั้งเมื่อ 2562
                  2     เมืองร้อยเอ็ด     เลือกผู้ใหญ่บ้าน           บ้าน 1 เลือกตั้งเมื่อ 2563


                  3     โพนทราย           เลือกผู้ใหญ่บ้าน           บ้าน 1 เลือกตั้งเมื่อ 2563
                  4     อ.หนองฮี          เลือกผู้ใหญ่บ้าน           บ้าน 1 เลือกตั้งเมื่อ 2563

                  5     สุวรรณภูมิ        เลือกผู้ใหญ่บ้าน           บ้าน 1 เลือกตั้งเมื่อ 2563 และ 2564
                                          และนายกเทศมนตรี
                  6     ปทุมรัตต์         เลือกนายกเทศมนตรี          เทศบาล 1 เลือกตั้งเมื่อ 2564

                       ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ทราบว่าการนำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการใน
               หลายพื้นที่ประสบผลสร้างความเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด มากหรือน้อยแตกต่างกันอย่างไร และมีเงื่อนไขปัจจัยใดที่

               ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในแต่ละพื้นที่ให้มีความแตกต่างกันบ้าง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาขยายผลโครงการ

               ต่อไป ในปีงบประมาณ 2565 สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง จึงจัดให้มีการวิจัยการขับเคลื่อนโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จังหวัดร้อยเอ็ด ขึ้น เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของแกนนำในจังหวัดร้อยเอ็ด ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการ

               ดำเนินโครงการ ตลอดจนเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จความล้มเหลว ตลอดจนความต่อเนื่องของโครงการนี้

                       โดยมีคำถามวิจัยว่า การดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สามารถส่งเสริมต่อ

               คุณภาพการเลือกตั้งได้ ในแง่ของการซื้อสิทธิขายเสียงลดลงและความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นได้

               หรือไม่ มีเงื่อนไขปัจจัยใดที่ส่งเสริมหรือท้าทายต่อการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงใน

               จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้เป็นตัวแบบ (model) ในการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียงสำหรับเป็นต้นแบบให้แก่พื้นที่อื่นๆที่มีความสนใจนำเอากระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ

               สิทธิขายเสียงไปดำเนินการในพื้นที่ของตนต่อไป

               วัตถุประสงค์การวิจัย


                       1.  เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

                          ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการ

                       2.  เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
                          เสียง

                       3.  เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
                          ขายเสียง



                                                                                                            8
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23