Page 14 - b29420_Fulltext
P. 14
“การเลือกตั้ง” เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นไปโดยทุจริตโปร่งใสหรือไม่ (Fabrice
Lehoucq, 2 0 0 3 ) Joseph M. Bessette (ใน Robert A. Goldwin & William A. Schambra eds., 1980)
ชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยที่แท้จริง ควรเกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผลมากกว่าที่จะมุ่งแสวงหาความชอบ
ธรรมบนฐานเสียงเท่านั้น
แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) หรือแนวแห่งการประชาเสวนา
หาทางออก จึงเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงในฐานะเครื่องมือส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
และประชาธิปไตยแบบผู้แทน (representative democracy) เพื่อลดความรู้สึกว่าการเลือกตั้งเป็นเพียงพิธีกรรม
เข้าสู่อำนาจของนักการเมืองเท่านั้นโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้มีความสำคัญต่อกระบวนการดังกล่าว อันส่งผลให้ผู้คน
ในสังคมจำนวนไม่น้อยเหนื่อยหน่ายต่อการเมืองและเลือกที่จะถอยออกมาไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการเมืองแม้แต่
การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งๆที่ประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงแค่การโหวตเท่านั้น ทว่ากระบวนการส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมที่ผ่านมาก็ติดกับดักอยู่กับการใช้เสียงส่วนใหญ่ (vote-centric) ดังจะเห็นได้ว่ากลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองที่ได้รับการปฏิบัติส่วนมากยังคงเน้นอยู่กับการโหวตเป็นหลัก เช่น การจัดให้มีการประชาพิจารณ์หรือ
การลงประชามติ ทั้งๆที่หลายครั้งวิธีการเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทั้งยังนำไปสู่การแบ่งฝักแบ่ง
ฝ่ายขัดแย้งกันระหว่างคนในชุมชน ส่งผลต่อความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้เพราะกลไกเหล่านั้นยังคง
ยึดอยู่กับคะแนนเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก (vote-centric) ส่งผลให้เสียงส่วนน้อยที่อาจมีความเห็นต่างไม่ได้รับ
ความสำคัญที่จะนำความคิดเห็นของพวกเขามาพิจารณาไปพร้อมๆกันทั้งๆที่พวกเขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งของ
ประชากรในชุมชน ประชาธิปไตยที่แท้จริงจำเป็นต้องพิจารณาหานวัตกรรมที่จะส่งเสริมให้คะแนนเสียงส่วนน้อย
ได้รับความสำคัญมากขึ้น เป็นประชาธิปไตยที่เน้นการพูดคุยกันระหว่างฝ่ายต่างๆให้มากขึ้น (talk-centric
democracy) (วันชัย วัฒนศัพท์, 2557)
ดังนั้น การจัดให้มีการเสวนาปรึกษาหารือกันระหว่างฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วย
ลดช่องว่างระหว่างประชาชนและผู้แทนในระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน (representative democracy)
(เดวิด แมทธิวส์ ใน วันชัย วัฒนศัพท์ 2552) การจัดเวทีเสวนาเป็นรูปแบบหนึ่งของแนวคิดประชาธิปไตยแบบ
ปรึกษาหารือ ซึ่งหัวใจสำคัญของแนวคิดนี้อยู่ที่ “กระบวนการ” ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าฉันทามติ (consensus) ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างการยึดเสียงข้างมากตามระบอบ
ประชาธิปไตยและการให้ความสำคัญกับเสียงข้างน้อยอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กระบวนการนี้ ฝ่ายต่างๆที่
เกี่ยวข้องจะได้รับการสนับสนุนให้มีการพูดคุยกันอย่างเต็มที่ ภายใต้บรรยากาศที่ทุกฝ่ายได้รับโอกาสแสดงความ
คิดเห็นโดยเท่าเทียมกัน เป็นการพูดคุยบนฐานของข้อมูลข้อเท็จจริงและภายใต้กติกาการเสวนาที่เปิดโอกาสให้ทุก
4