Page 58 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 58

การประชุมวิชาการ    7
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                            3)  สร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อใช้เป็นกลไกบังคับทางการเมืองที่ฝ่ายอื่น

                               จะไม่สามารถกำหนดทิศทางของประเทศได้ นอกจากฝ่ายขวาที่มีผู้นำทหาร
                               เป็นแกนกลาง
                            4)  การยกสถานะ กอ.รมน. เพื่อทำหน้าที่เป็น “รัฐซ้อนรัฐ” ในกลไกอำนาจของ
                               ฝ่ายทหาร โดย กอ.รมน. จะทำหน้าที่แทนฝ่ายทหารในสังคมพลเรือน

                            5)  การขยายบทบาทของกองทัพในการเมือง และกองทัพทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ
                               ของฝ่ายอนุรักษนิยมในการจัดการกับภัยคุกคามทางการเมือง
                            6)  การสร้างอำนาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยองค์กรเหล่านี้จะทำ
                               หน้าที่สร้างอำนาจของ “ตุลาการธิปไตย” เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของฝ่าย

                               อนุรักษนิยม

                       15) นอกจากการจัดทำโครงสร้างในข้างต้นแล้ว การสร้างความเข้มแข็งระบอบพันทาง
                  ยังมาพร้อมกับการขยายอำนาจของกลไกที่สำคัญ ได้แก่
                            1)  กลไกทางกฎหมาย: ฝ่ายอนุรักษนิยมที่กุมอำนาจรัฐ มักจะเรียกร้องให้สังคม

                               ยอมรับกฎหมาย ภายใต้แนวคิดการ “ปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ “นิติปกครอง”
                               (Rule by Law) แต่ในทางกลับกัน พวกเขาไม่ยอมรับแนวคิดเรื่อง “นิติรัฐ”
                               (Rule of Law) และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของการสร้างความเข้มแข็ง
                               ทางการเมือง และรวมถึงการใช้กลไกทางกฎหมายในการจัดการกับฝ่ายตรง

                               ข้าม จนเกิดสภาวะของ “ตุลาการธิปไตย”
                            2)  กลไกของการโฆษณาทางการเมือง: โดยเฉพาะการอาศัยกองทัพในการดำเนินการ
                               “ปฏิบัติการจิตวิทยา” (ปจว.) หรือที่ถูกเรียกในสังคมไทยว่า “ปฏิบัติการข่าวสาร”
                               (IO) และเป็นความหวังว่า การโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าวจะทำให้เกิด

                               กระบวนการสร้างฝ่ายอำนาจนิยมในสังคม และจะเป็นเครื่องมือสำคัญของ
                               การสร้างความเชื่อและวาทกรรมเพื่อสนับสนุนฝ่ายอนุรักษนิยม
                            3)  กลไกของการควบคุมการต่อต้าน: ฝ่ายอนุรักษนิยมมักจะเป็นผู้ที่ควบคุมกลไก
                               อำนาจรัฐ โดยเฉพาะองค์กรทหารและตำรวจ องค์กรทั้งสองจึงมีบทบาทใน

                               การจัดการกับการต่อต้านทางการเมือง ดังนั้น ในด้านหนึ่ง ฝ่ายต่อต้านอาจถูก
                               ควบคุมด้วยมาตรการทางกฎหมาย และในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายต่อต้านจะถูก
                               กดทับไว้ด้วยอำนาจของการปราบปรามและจับกุม การควบคุมการต่อต้าน
                               จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการดำรงอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมในสังคม             การแสดงปาฐกถานำ

                               การเมือง
                            4)  กลไกรัฐราชการ: อำนาจของทหารไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้การบริหารรัฐ
                               เป็นไปได้จริงในโลกปัจจุบัน ดังนั้น “รัฐราชการ” จึงถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็น
                               เครื่องมือของผู้นำทหาร รัฐเช่นนี้จึงเป็นการรวมพลังระหว่าง “ราชการทหาร+

                               ราชการพลเรือน” เพื่อเป็นกลไกในการถ่วงดุลกับรัฐประชาธิปไตย ที่อำนาจ
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63