Page 57 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 57
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ทหารชนะการแข่งขันทางการเมือง โดยไม่ต้องสนใจมาตรฐานหรือบรรทัดฐานทางการเมืองใด ๆ
เพื่อให้ฝ่ายอนุรักษนิยมที่สนธิกำลังกับฝ่ายเสนานิยมกลับมาเป็น “ผู้ควบคุมการเมือง” และ
ดำรงสถานะของการเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งให้ได้ ดังนั้น การสืบทอดระบอบอำนาจนิยม
จึงเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นของรัฐบาลทหารหลังการเลือกตั้งในต้นปี 2562 แต่ว่าที่จริงแล้ว
สิ่งที่กล่าวมาคือ “สถาปัตยกรรมฝ่ายขวา” ที่ถูกออกแบบเพื่อการคงอิทธิพลของกลุ่ม
อนุรักษนิยมไว้ให้ได้ เพื่อต่อสู้กับการไหล่บ่าของกระแสเสรีนิยม
สถาปัตยกรรมอำนาจนิยม
12) สถาปัตยกรรมของระบอบทหารในยุคปัจจุบัน อาจจะไม่ได้แตกต่างจากโลกทาง
การเมืองในอดีต ที่จะต้องออกแบบด้วยความจงใจให้โครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง
เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้าง “ความได้เปรียบ” อันจะเป็นหลักประกันว่าฝ่ายอนุรักษนิยม-
เสนานิยมเท่านั้นต้องชนะ ซึ่งก็คือการออกแบบให้ระบอบอำนาจนิยมที่มาจากการรัฐประหาร
มีความคงทนและสามารถอยู่ในอำนาจได้ต่อไป โดยมีกระบวนการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสร้าง
ให้เกิดความชอบธรรมแก่การสืบทอดอำนาจ การแข่งขันภายใต้การออกแบบเช่นนี้ จึงทำให้
การเลือกตั้งเป็นแบบ “เสรีแต่ไม่เป็นธรรม” (ไม่ใช่ “free and fair election” ในมาตรฐาน
สากล)
13) กระบวนการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารจึงเป็นดังการ “ฟอกตัว” ของระบอบ
อำนาจนิยม โดยอาศัยการเลือกตั้งเป็น “ผงซักฟอก” โดยมีจุดหมายปลายทาง คือความสำเร็จ
ในการจัดตั้งระบอบพันทาง (Hybrid Regime) อันทำให้เกิดระบอบอำนาจนิยมที่ผ่านการเลือกตั้ง
(คือเป็น Electoral Authoritarianism) ดังเช่นตัวแบบในรัสเซีย ตุรกี หรือกัมพูชา หรืออีก
นัยหนึ่งก็คือการสร้าง “ระบอบกึ่งอำนาจนิยม” (Semi-Authoritarian Regime) ซึ่งก็คือ
”ระบอบเผด็จการครึ่งใบ” ในสภาวะเช่นนี้ การออกแบบของสถาปนิกฝ่ายอำนาจนิยมจึงเป็น
ประเด็นสำคัญอย่างมากในการควบคุมทางการเมืองของระบอบเดิม ที่จะขัดขวางไม่ให้
การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้จริง และเป็นหนทางของการดำรงบทบาทและอิทธิพล
ของฝ่ายขวาไว้ให้ได้
14) สถาปัตยกรรมชุดนี้จึงปรากฏชัดในการเมืองไทยปัจจุบัน ที่มีการออกแบบโครงสร้าง
การแสดงปาฐกถานำ การเมืองเพื่อการสร้างระบอบพันทางสำหรับผู้นำทหาร ได้แก่
1) ออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ให้เป็นเครื่องมือของกระบวนการสร้าง
ประชาธิปไตย แต่เป็นกลไกของการดำรงอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยม-เสนานิยม
ไว้หลังการเลือกตั้ง
2) จัดทำกฎหมายลูกฉบับต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการสร้างกติกาประชาธิปไตย
แต่เป็นการสร้างความได้เปรียบให้แก่ฝ่ายอำนาจเดิม