Page 62 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 62
การประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ในการ “disrupt” ความเป็น “อนุรักษนิยมแบบดั้งเดิม” ของไทย อันอาจมีนัยว่า อุดมคติ/
คุณค่าแบบเก่าของฝ่ายขวากลายเป็น “สินค้าตกยุค” สำหรับคนรุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามามี
บทบาททางการเมืองและสังคมมากขึ้น หรืออาจเปรียบว่า ปัจจัยใหม่ๆ เหล่านี้กำลังทั้ง “เขย่า
และขย่ม” วาทกรรมเรื่องความเป็นไทย ที่ฝ่ายอนุรักษนิยมได้นำเสนอมาอย่างยาวนานใน
สังคมไทย
26) เมื่อแกนกลางของกระบวนการสร้างอนุรักษนิยมไทยแบบดั้งเดิมใน 3 ส่วนหลัก
คือ “อุดมคติ-คุณค่า-วาทกรรม” ของฝ่ายขวา ที่ก่อตัวเป็น “อุดมการณ์ฝ่ายขวา” นั้น ไม่ใช่
สินค้าทางการเมืองที่สามารถทำการตลาดกับคนรุ่นใหม่ และกับฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยมได้
ภาวะเช่นนี้ย่อมทำให้ฝ่ายขวาไทยในระยะยาวมีความเปราะบางในตัวเองอย่างมาก เพราะหาก
คุณค่าที่ยึดโยงอยู่กับสถาบันทางการเมืองสิ้นสลายลง ฝ่ายขวาไทยจะหันไปเกาะยึดกับปัจจัย
อะไร ตลอดรวมถึงปัญหาสำคัญในอนาคตคือ การแสวงหาปัจจัยตัวบุคคลเชิงผู้นำ ที่ฝ่ายขวา
ยังจะต้องอาศัยบุคลิกแบบผู้นำทหารให้เป็นตัวแทนของฝ่ายตนไปอีกนานเพียงใด
27) แต่กระนั้น คงต้องยอมรับว่าฝ่ายขวาหรือปีกอนุรักษนิยมไทยยังคงเป็น “กระแส
หลัก” ที่ยึดครองอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนาน เพราะพวกเขาสามารถใช้พลังเสนานิยม
ในการบดขยี้ฝ่ายเสรีนิยมได้ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยมีรัฐประหารเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของ
อำนาจเช่นนี้
28) ดังนั้น จากข้อสังเกตในข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ระบบการเมืองและการเปลี่ยน
ผ่านของไทยจะยังคงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ “จตุภาคีฝ่ายขวา” โดยผ่านการออกแบบของ
“สถาปนิกอำนาจนิยม” ที่ทำหน้าที่ในการสร้างอุปสรรคและสิ่งกีดขวางต่อกระบวนการสร้าง
ประชาธิปไตย และยังออกแบบเพื่อสร้างพันธนาการให้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ในอนาคตไม่ให้สามารถทำหน้าที่ได้อีกด้วย ฉะนั้น สิ่งที่กล่าวในข้างต้นจึงเป็นการตอกย้ำว่า
การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของไทยจะต้องเป็นแบบ “ไตรภาค” อันทำให้ความคาดหวังว่า
การเปลี่ยนผ่านครั้งเดียวจะเป็นความสำเร็จของฝ่ายประชาธิปไตยนั้น อาจจะไม่เป็นจริง
ปัญหาเสนานิยมไทย
29) ปัญหาสำคัญอีกประการในอนาคตที่ละเลยไม่ได้ในการลดทอนอิทธิพลของฝ่ายขวา
ในการเมืองไทย คือการพากองทัพออกจากการเมือง เข็มมุ่งของการที่กองทัพต้องลดบทบาท
ทางการเมือง เพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างทหารอาชีพของไทยนั้น ยังต้องถือเป็นทิศทางหลัก การแสดงปาฐกถานำ
ของยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย เพราะหากการลดความเข้มข้นของบทบาททหารในการเมืองไทย
ไม่เกิดขึ้นแล้ว กระบวนการสร้างประชาธิปไตยอาจถูกแทรกแซงและ/หรือกดดันจากผู้นำทหาร
ได้เสมอ อีกทั้งความเข้มข้นของบทบาททางการเมืองของทหาร จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้
เกิดสภาวะ “รัฐซ้อนรัฐ” ซึ่งอำนาจจะผูกขาดไว้กับผู้นำทหาร อันจะส่งผลให้แนวคิดเรื่อง
“การควบคุมโดยพลเรือน” (Civilian Control) ไม่สามารถถูกนำมาใช้ปฏิบัติได้