Page 59 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 59

8    การประชุมวิชาการ
                สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                             จะอยู่กับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อีกทั้ง รัฐราชการจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

                             ที่ใช้ในการยับยั้งการขยายตัวกระบวนการสร้างประชาธิปไตย และเป็น
                             เสาสำคัญของการค้ำอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมในการบริหารรัฐ
                          5)  กลไกของการแข่งขันทางการเมือง: จัดตั้งพรรคการเมืองของระบอบทหาร
                             (หรือในทางทฤษฎีคือ Regime Party) หรือที่เรียกว่า “พรรคทหาร” เพื่อเป็น

                             องค์กรในการแข่งขันทางการเมืองกับพรรคของฝ่ายเสรีนิยม และเป็นองค์กร
                             ที่ใช้เพื่อการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้นำทหารที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็น
                             “รัฐบาลทหารที่มาจากการเลือกตั้ง” และอีกด้านช่วยลดแรงกดดันทั้งจาก
                             เวทีภายนอกและภายในที่ต้องการเห็นการเมืองไทยกลับสู่การเลือกตั้ง

                          6) กลไกของการเอาชนะทางการเมือง: จัดทำกลไกในรูปแบบของนโยบาย
                             ประชานิยม ในลักษณะของการ “แจกเงิน” แม้รัฐบาลทหารจะเคยโจมตี
                             อย่างหนักต่อนโยบายประชานิยมของรัฐบาลพลเรือน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็น
                             รัฐบาลทหารแบบเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลกลับหันไปใช้นโยบายดังกล่าว โดยเชื่อว่า

                             การแจกเช่นนี้เป็นหนทางสำคัญในการเอา “ชนะใจ” ประชาชน และเป็น
                             ความหวังว่านโยบายเช่นนี้จะทำให้สามารถเอาชนะในการแข่งขันทางการเมือง
                             ด้วยการสนับสนุนจากประชาชน ที่ได้รับผลตอบแทนจากนโยบายดังกล่าว
                             โดยเฉพาะหากเกิดการเลือกตั้งขึ้นในอนาคต


                     16) ความสำเร็จของการออกแบบสูตร “6+6” ดังที่กล่าวในข้างต้น จึงกลายเป็น
               “สถาปัตยกรรมอำนาจนิยม” ที่สำคัญในการเมืองปัจจุบัน และกลายเป็นพันธนาการไม่ให้สังคม
               การเมืองไทยก้าวสู่ความเป็นเสรีนิยมได้ สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเสมือน “เครื่องกีดขวาง”
               ต่อการกำเนิดของรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคต ดังนั้น

               ขบวนประชาธิปไตยไทยจะต้องผลักดันให้มีการแก้ไข/ยกเลิกสถาปัตยกรรมชุดนี้ให้ได้
               เพื่อที่จะทำให้การขับเคลื่อนกระบวนการสร้างประชาธิปไตยสามารถก้าวไปข้างหน้าได้

               การเปลี่ยนผ่านแบบ “ไตรภาค”


                     17) สถาปัตยกรรมอำนาจนิยมดังกล่าวออกแบบด้วยวัตถุประสงค์หลักประการเดียวคือ
         การแสดงปาฐกถานำ   แม้กระทั่งไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ (ในแบบที่หลายคนชอบกล่าวถึงตัวแบบของยุค
               การทำให้การเมืองไทยไม่เป็นประชาธิปไตย (และไม่ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูป) หรือ


               พลเอก เปรม ติณสูลานนท์) หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ถูกออกแบบกลับเป็น
               ความพยายามที่จะสร้างระบอบกึ่งอำนาจนิยม หรืออาจเรียกในทางทฤษฎีว่า เป็นการสร้าง
               “ระบอบกึ่งเผด็จการ” เพื่อหยุดยั้งความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้น

               ในอนาคต

                     18) แม้จะมีการเปลี่ยนผ่านหลายครั้งในการเมืองไทย แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ
               ในการสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย (Democratic Cconsolidation) ได้จริง
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64