Page 54 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 54

การประชุมวิชาการ
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  จากอดีตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในปี 2475 จวบจนถึงปัจจุบันนั้น พัฒนาการ

                  การเมืองไทยสมัยใหม่โดยรวมคือ ภาพสะท้อนของการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์ 2 ฝ่าย คือ
                  อนุรักษนิยม (ที่มีเสนานิยมเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด และพึ่งพิงซึ่งกันและกัน) กับเสรีนิยม
                  อันทำให้มีภาพคู่ขนานในด้านหนึ่งคือ การแข่งขันระหว่าง “เผด็จการ vs ประชาธิปไตย”
                  อันส่งผลให้เกิดภาพในอีกด้านหนึ่งคือ การต่อสู้ระหว่าง “ทหาร vs พลเรือน” ซึ่งสภาวะเช่นนี้

                  ดำเนินสืบเนื่องมาจนยุคปัจจุบัน

                       2) การต่อสู้ดังกล่าวมีส่วนสำคัญที่ถูกกำหนดจากบริบทของการเมืองโลก ที่สะท้อน
                  ให้เห็นถึงการแข่งขันทางอุดมการณ์ใน 3 ช่วงเวลา และหากถือเอาการสงครามของโลกเป็น
                  เส้นแบ่งของเวลาแล้ว จะเห็นถึงการต่อสู้ชุดที่หนึ่งอยู่ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เราอาจ

                  ถือว่าเหตุการณ์ปี 2475 เป็นจุดสูงสุดของชัยชนะของฝ่ายเสรีนิยม และจบลงพร้อมกับ
                  การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งนั้นด้วยการยึดอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมในปี 2490
                  การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยไทย
                  หรืออาจเปรียบเป็นดัง “คลื่นประชาธิปไตยลูกแรก” ที่กำเนิดบนแผ่นดินสยาม หรืออาจเรียก

                  เหตุการณ์ 2475 ด้วยมุมมองของสาขาเปลี่ยนผ่านวิทยาว่าเป็น “การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย”
                  ครั้งแรกของการเมืองไทย (Transition to Democracy)

                       3) การต่อสู้ชุดที่สองเกิดในยุคสงครามเย็น ที่เริ่มต้นด้วยรัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็น
                  ดังชัยชนะชุดใหญ่ของฝ่ายอนุรักษนิยมและเสนานิยม แต่ฝ่ายเสรีนิยมกลับมาประสบชัยชนะ

                  ครั้งใหญ่ในปี 2516 ด้วยการโค่นล้มระบอบทหารลง อันเป็นเสมือนการมาของ “คลื่น
                  ประชาธิปไตยลูกที่สอง” ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่สุดท้ายแล้ว
                  กระบวนการสร้างประชาธิปไตยครั้งที่ 2 ถูกทำลายลงในปี 2519 อันมีปัจจัยแทรกซ้อนคือ

                  การขยายตัวของอุดมการณ์สังคมนิยม ที่เข้ามาเป็นคู่แข่งขันด้วย อันมีนัยว่า การต่อสู้นี้
                  เกิดท่ามกลางกระแสโลกของการต่อสู้ทางอุดมการณ์ อันส่งผลให้ฝ่ายอนุรักษนิยมเชื่อว่า
                  รัฐบาลทหารเป็นคำตอบของความสำเร็จในการต่อสู้กับสงครามคอมมิวนิสต์ แต่สุดท้ายแล้ว
                  ชนชั้นนำและผู้นำทหารสายปฏิรูปกลับพบว่าคำตอบของการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์กลับเป็น
                  อุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่ใช่ชุดความคิดแบบอนุรักษนิยมของฝ่ายขวา ความเปลี่ยนแปลง

                  ของยุทธศาสตร์และนโยบายทางการเมืองของผู้นำทหารสายปฏิรูปจากปี 2523 จึงส่งผลให้
                  สงครามชุดนี้จบลงในปี 2526 ขณะเดียวกันสงครามอุดมการณ์ของยุคหลังสงครามก็จบลงใน
                  เวทีโลกในปี 2532 โดยมีการทุบกำแพงเบอร์ลินและการรวมชาติของเยอรมนีเป็นสัญลักษณ์

                  ของการสิ้นสุดของสงครามเย็น                                                              การแสดงปาฐกถานำ

                       4) นอกจากนี้ด้วยอิทธิพลของคลื่นประชาธิปไตยที่ยังคงมีอิทธิพลในสังคม ทำให้การจัดตั้ง
                  รัฐบาลในยุคหลังจากการโค่นล้มรัฐบาลของปีกอนุรักษนิยมแบบขวาจัดจากปี 2519 กลับไม่ได้
                  มีการสืบทอดอำนาจของการรัฐประหาร หากมีการจัดตั้งรัฐบาลในรูปแบบของการปกครอง

                  ที่มีลักษณะเป็น “ระบอบพันทาง” (Hybrid Regime) ที่มีการผสมผสานความเป็นเสรีนิยม
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59