Page 55 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 55

การประชุมวิชาการ
                สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

               เข้ามากับระบอบเดิม ซึ่งระบอบเช่นนี้จากปี 2522-2531 กลายเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ

               ในการคงอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยม (ที่มีทหารเป็นแกนกลางของอำนาจ) ผสมผสานเข้ากับ
               กลไกและการเมืองแบบเสรีนิยม หรืออาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนผ่านในการเมืองไทยในยุคหลัง
               รัฐประหารปี 2520 มีความจำกัด และถูกออกแบบไม่ให้การเปลี่ยนผ่านเดินไปสู่จุดหมาย
               ปลายทางของการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดความเข้มแข็งได้จริง (หรือที่ในทางทฤษฎีหมายถึง

               Democratic Consolidation)

                     5) หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นแล้ว การแข่งขันคงเหลือเพียงอุดมการณ์ 2 ชุด
               ที่ต่อสู้กันไม่จบและดำเนินต่อไป การต่อสู้ชุดที่สามของยุคหลังสงครามเย็นมีบริบทของโลกที่
               เป็นโลกาภิวัตน์ และการต่อสู้ชุดนี้เริ่มต้นด้วยรัฐประหาร 2534 แต่ฝ่ายเสรีนิยมกลับเป็น

               ผู้ชนะในเหตุการณ์ปี 2535 ที่มาพร้อมกับรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในปี 2540 และ
               ความคาดหวังในการปฏิรูปการเมืองไทย แม้กระแสเสรีนิยมจะทวีความเข้มแข็งมากขึ้นภายใต้
               กระแสโลกาภิวัตน์ แต่เสรีนิยมไทยยังคงความเปราะบาง และต้องเผชิญกับอนุรักษนิยม
               ที่ผนึกกำลังกับเสนานิยมไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ชัยชนะของประชาชนในปี 2535

               เป็นดังการมาของ “คลื่นประชาธิปไตยลูกที่สาม” ในการเมืองไทย และเกิดการเปลี่ยนผ่านสู่
               ประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่ประชาธิปไตยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากการต้านทาน
               ขอบกระแสอนุรักษนิยมไม่ต่างจากในอดีต

                     6) หากพิจารณาจากบริบทของการเมืองไทย ปีกเสรีนิยมและ/หรือฝ่ายประชาธิปไตย

               ชนะทางการเมืองในปี 2475 ชนะครั้งที่สองในปี 2516 และชนะครั้งที่สามในปี 2535 ซึ่งจะ
               เห็นได้ว่าชัยชนะทั้งสามครั้งนี้ไม่ได้จบลงด้วยการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่เดินไปสู่การสร้าง
               ความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย กลับจบลงด้วยการฟื้นอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยม

               ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระแสตีกลับของฝ่ายขวามีพลังในการขับเคลื่อนทิศทางการเมืองไทยเสมอ

               อำนาจของฝ่ายขวา


                     7) หากมองจากมุมของฝ่ายขวาแล้ว การโค่นล้มฝ่ายเสรีนิยมในการต่อสู้ของการเมือง
               ไทยนั้น เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จมาโดยตลอดนับตั้งแต่รัฐประหาร 2490 เป็นต้นมา
               จนอาจกล่าวได้ว่าแทบไม่เคยมีภาวะที่ฝ่ายขวา ซึ่งที่มีพันธมิตรที่เข้มแข็งทั้งชนชั้นนำ ผู้นำทหาร
         การแสดงปาฐกถานำ   และผู้นำสายอนุรักษนิยม จะยินยอมให้ฝ่ายเสรีนิยมและ/หรือฝ่ายประชาธิปไตยสามารถเติบโต


               ได้อย่างเข้มแข็งในสังคมไทย และพวกเขาพร้อมที่จะใช้พลังทางทหารยุติภาวะเช่นนั้น
               รัฐประหารจึงกลายเป็นเครื่องมืออย่างดีของการหยุดยั้งกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง
               ของประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็ใช้พลังเช่นนี้เป็นกลไกของการสร้างความเข้มแข็งของลัทธิ
               อำนาจนิยม (Authoritarian Consolidation)


                     8) ในยุคปัจจุบัน กระบวนการสร้างระบอบอำนาจนิยมมีเส้นแบ่งเวลาที่สำคัญสองช่วง
               คือ รัฐประหาร 2549 และรัฐประหาร 2557 อันบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงสภาวะของ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60