Page 60 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 60

การประชุมวิชาการ
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  เช่น เราเคยมี “ฤดูใบไม้ผลิ” (Political Spring) ที่กรุงเทพฯ หรือเกิด “กรุงเทพฯ สปริง” (The

                  Bangkok Spring) ถึง 2 ครั้งในปี 2516 และ 2535 แต่ก็เป็นฤดูใบไม้ผลิที่ไม่ยั่งยืน เงื่อนไข
                  เช่นนี้ทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยไทยจะต้องคิดถึงเรื่องการเปลี่ยนผ่านมากกว่าในการคิดแบบ
                  ดั้งเดิม ที่เป็นแบบ “Conventional thinking” คือ เชื่อว่าเปลี่ยนผ่านครั้งเดียวแล้วจะทำให้
                  การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยได้เลย


                       19) ปรากฏการณ์นี้ตอบในเชิงทฤษฎีว่า การเปลี่ยนผ่านที่เกิดในการเมืองไทย
                  ไม่สามารถเดินไปสู่จดสุดท้ายที่ประชาธิปไตยกลายเป็นกติกาหลักของการแข่งขันทางการเมือง
                  (สภาวะเช่นนี้ในทางทฤษฎีเรียกว่า “Transition without Consolidation”) คือเป็นการเปลี่ยนผ่าน
                  ที่หยุดนิ่ง ไม่ก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยเต็มรูป จนอาจทำให้การเปลี่ยนผ่านที่เกิดนั้นล้มลง

                  ได้ด้วยการกลับคืนมาของระบอบเผด็จการ ข้อพิจารณาเช่นนี้ทำให้การเปลี่ยนผ่านในอนาคต
                  อาจต้องคิดในแบบ “ไตรภาค” เพราะการเปลี่ยนผ่านแบบจังหวะเดียว (ม้วนเดียว) ไม่เพียงพอ
                  ที่จะพาประเทศออกจากระบอบอำนาจนิยมได้จริง เพราะอำนาจของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย
                  นั้น ฝังรากลึกลงอย่างมากในสังคมการเมืองไทย


                       20) การเปลี่ยนผ่านแบบสามจังหวะเช่นนี้ จะช่วยให้ขบวนประชาธิปไตยสามารถกำหนด
                  “จังหวะก้าว” และ “ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย” เพื่อช่วยในการลดทอนอิทธิพลของฝ่าย
                  อนุรักษนิยม-เสนานิยม ดังนี้
                              - การ “เปลี่ยนผ่านภาคที่ 1” เป็นการดำเนินการเพื่อลดทอนอิทธิพลของระบอบ

                               เดิมที่ออกแบบโครงสร้างให้การเมืองหลังเลือกตั้งเป็นกึ่งอำนาจนิยม หรือ
                               เป็นขั้นตอนที่จะต้องลดและ/หรือทำลายอิทธิพลของระบอบอนุรักษนิยม
                               และเสนานิยม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การพาการเมืองออกจากระบอบพันทาง

                               ด้วยการเปลี่ยนผ่านที่ทำให้เกิดความเป็นเสรีนิยม (ขั้นตอนของ Liberalization)
                              - การ “เปลี่ยนผ่านภาคที่ 2” คือ การพาระบอบการเมืองก้าวสู่ความเป็น
                               ประชาธิปไตยเสรีนิยม เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นกลไกหลักทางการเมือง
                               พร้อมทั้งการสร้างกติกา/กฎเกณฑ์ของประชาธิปไตย (ขั้นตอนของ
                               Democratization)


                              - การ “เปลี่ยนผ่านภาคที่ 3” คือ การขับเคลื่อนเพื่อทำให้ระบอบประชาธิปไตย
                               มีความเข้มแข็ง อันเป็นความคาดหวังว่า ประชาธิปไตยจะเป็นกติกาเดียวใน
                               การแข่งขันทางการเมืองของประเทศ (ขั้นตอนของ Democratic Consolidation)       การแสดงปาฐกถานำ


                  โลกของอนุรักษนิยมไทย


                       21) การต่อสู้ที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นระหว่างอุดมการณ์ 2 ชุดดังที่กล่าวแล้วในข้างต้น
                  อาจทำให้การแข่งขันที่เกิดขึ้นกลายเป็น “เกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์” (the zero-sum game)
                  และหากฝ่ายอนุรักษนิยมพ่ายแพ้ในการต่อสู้เช่นนี้ พวกเขาก็พร้อมที่ใช้พลังเสนานิยมเพื่อ
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65