Page 56 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 56

การประชุมวิชาการ
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  ฝ่ายอนุรักษนิยมที่พึ่งพาการสร้างตัวเองด้วยการเลือกตั้งไม่ได้ การได้อำนาจยังคงต้องอาศัย

                  พลังของเสนานิยม ปีกอนุรักษนิยมไทยยังก้าวสู่ความเป็นฝ่ายขาวที่ทันสมัยในโลกปัจจุบันไม่ได้
                  ดังเช่นที่ปีกขวายุโรป-อเมริกามีลักษณะเป็นประชานิยมปีกขวา และขึ้นสู่อำนาจด้วยการเลือกตั้ง
                  กล่าวคือฝ่ายขวาในการเมืองตะวันตกสามารถใช้การต่อสู้ทางรัฐสภาเป็นเครื่องมือได้
                  แต่อนุรักษนิยมไทยยังคงเป็นขวาเก่าที่พึ่งพิงอยู่กับอำนาจของเสนานิยมเช่นที่เห็นมาตั้ง

                  รัฐประหาร 2490 ดังนั้น เมื่อพวกเขาไม่สามารถเอาชนะด้วยกระบวนการทางรัฐสภา
                  ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมักต้องอาศัยกองทัพเป็นเครื่องมือของการได้อำนาจ ขณะเดียวกันก็ใช้
                  รัฐประหารเป็นกลไกทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม

                       9) ในเงื่อนไขของโครงสร้างอำนาจที่กองทัพเป็นแกนกลางของฝ่ายขวาในการเมืองไทย

                  หรือในอีกมุมหนึ่ง กองทัพไทยคือองค์กรที่เป็นฝ่ายขาวในตัวเอง กองทัพไทยไม่ใช่ตัวแทนของ
                  ชนชั้นกลางในแบบทฤษฎีของละตินอเมริกา และกองทัพไทยก็ไม่ใช่ตัวแทนของทุกชนชั้น
                  เช่นในรัฐอาณานิคมที่กองทัพมีบทบาทนำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ กองทัพไทยในบริบท
                  เช่นนี้จึงแทบไม่เคยแสดงบทบาทที่ก้าวหน้าได้ นอกจากนี้จะเห็นได้จากบริบทของการเมืองไทยว่า

                  กองทัพเป็นองค์กรที่เข้มแข็งที่สุดของฝ่ายขวา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ลัทธิ
                  อำนาจนิยม (Transition to Authoritarianism) และเป็นพลังพื้นฐานในกระบวนการสร้าง
                  ระบอบอำนาจนิยม

                       10) การที่ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยต้องยึดโยงอยู่กับฝ่ายเสนานิยม ส่งผลให้ฝ่ายขวาไทย

                  พัฒนาตัวเองไม่ได้ และไม่มีพลังในการขับเคลื่อนสังคมทั้งในมติการเมืองและเศรษฐกิจ และ
                  ยิ่งในหลายปีที่ผ่านมา แรงกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้พลังเสรีนิยมเข้มแข็งขึ้น
                  เท่าๆ กับที่พลังอนุรักษนิยมไทยอ่อนแรงลง มิใยต้องกล่าวถึงพลังของเสนานิยม ที่มีทิศทางของ

                  ความพ่ายแพ้ใหญ่ในละตินอเมริกาตั้งแต่ทศวรรษของปี 2523 แล้ว ไม่อยู่ในสถานะที่เป็น
                  ทางเลือกในทางการเมืองแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้ถึงการเกิดความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่าน
                  ทางการเมืองครั้งสำคัญของโลกในละตินอเมริกา ประกอบกับในหลายปีของการเมืองไทย
                  ที่ฝ่ายขวาขาดการพัฒนาทางการเมือง ขวาไทยจึงแทบไม่ประสบชัยชนะในสนามการเลือกตั้งเลย
                  ต่างกับฝ่ายขวาในการเมืองยุโรปปัจจุบันอย่างมาก ที่เดินหน้าต่อสู้ในสนามการเลือกตั้งเป็น

                  ทิศทางหลัก และพยายามที่จะสร้างทิศทางทางการเมืองของตนเองเพื่อเป็นพลังในการแข่งขัน
                  กับลัทธิเสรีนิยมที่เป็นแกนกลางของกระแสโลกาภิวัตน์

                       11) แม้รัฐประหาร 2549 และ 2557 จะเป็นตัวแทนที่ชัดเจนของชัยชนะของฝ่าย               การแสดงปาฐกถานำ
                  อนุรักษนิยม ที่สนธิกำลังกับฝ่ายเสนานิยม จนสามารถโค่นล้มฝ่ายเสรีนิยมได้ตามต้องการ

                  แต่ในอีกด้านรัฐประหารคือภาพสะท้อนของความพ่ายแพ้ของฝ่ายขวา ซึ่งฝ่ายดังกล่าว
                  ไม่สามารถที่จะเอาชนะต่อการแข่งขันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาได้
                  ดังจะเห็นถึงการแพ้ในการเลือกตั้งในปี 2550 และ 2554 อันส่งผลให้คำตอบในอนาคต

                  จึงเหลือประการเดียว คือจะต้องออกแบบ “สถาปัตยกรรมทางการเมือง” ที่จะต้องทำให้รัฐบาล
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61