Page 49 - kpib28626
P. 49
ที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หรืออาจจะได้รับความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการใช้หลักการกระจายอ�านาจ (Decentralization)
ให้แก่ประชาชนโดยตรง และประชาชนในฐานะผู้รับมอบอ�านาจจะต้องมีความรับผิดชอบ
ต่อการตัดสินใจและการด�าเนินการของท้องถิ่นตนเอง (โกวิทย์ พวงงาม, 2548: 1-2)
โดยการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ กอปรด้วย
1. รูปแบบที่ใช้ในการบริหารงานท้องถิ่นทั่วไป มี 3 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนต�าบล (อบต.)
1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในทุกประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยในรูปแบบทั่วไป มีจังหวัด
ละ 1 แห่ง มีพื้นที่การปกครองครอบคลุมพื้นที่จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)
มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะในเขตจังหวัด ช่วยเหลืองานของเทศบาลและองค์การ
บริหารส่วนต�าบล และประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นไม่ภารกิจซ�้าซ้อนกัน
บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย 3) องค์การบริหารส่วนต�าบล เป็นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก
2) เทศบาล เป็นประเภทการปกครองหนึ่งที่มีขนาดเหมาะสมในเขตที่มีความ
เจริญและมีความเป็นเมืองสูง ซึ่งในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย
ตามขนาดความเจริญของพื้นที่ ประกอบด้วย เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และ
เทศบาลต�าบล
ที่สุดในทุกประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
2. รูปแบบพิเศษซึ่งใช้ในการบริหารงานท้องถิ่นบางแห่งมี 2 ประเภท ได้แก่
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
1) กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีโครงสร้าง
ขนาดใหญ่ ไม่มีฐานะเป็นจังหวัด มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะในพื้นที่
กรุงเทพมหานครซึ่งมีความอิสระสูง และมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่
มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
2) เมืองพัทยา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับ
ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพื้นที่ มีระดับเทียบเท่าเทศบาลนคร อยู่ใน
เขตจังหวัดชลบุรี
หน้า 48