Page 46 - kpib28626
P. 46
ความส�าคัญการบริหารราชการส่วนกลาง มีรายละเอียดดังนี้ (มานิตย์ จุมปา,
2548: 2-3)
1. การรวมอ�านาจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้ส่วนกลางสามารถใช้อ�านาจในการบังคับ
บัญชาได้อย่างเด็ดขาดและทันต่อสถานการณ์ ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ
ในเรื่องต่าง ๆ
2. การรวมอ�านาจในการวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้เกิดเอกภาพใน
การบริหารราชการแผ่นดิน
3. ท�าให้เกิดความมั่นคง มีเอกภาพ เพราะการรวมอ�านาจการบังคับบัญชาไว้ที่
ส่วนกลาง จะท�าให้ผู้อยู่ใต้การปกครองได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ไม่มี
การเลือกปฏิบัติเป็นพิเศษในที่ใดที่หนึ่ง
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
กล่าวได้ว่า การบริหารราชการส่วนภูมิภาค (Provincial Administration) เป็นการบริหาร
ราชการแผ่นดินตามหลักการแบ่งอ�านาจ (Deconcentration) เป็นตัวแทนของการบริหาร
ราชการส่วนกลาง จึงใช้อ�านาจหน้าที่ที่ส่วนกลางมอบหมายให้ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
และมีอ�านาจตัดสินใจในขอบเขตที่จ�ากัดบางอย่างตามที่ราชการบริหารส่วนกลางจะได้มอบไว้
ให้หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นกลไกส�าคัญทางการเมืองในการแปลงนโยบาย
การเมืองสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการสนับสนุนการท�างานของส่วนท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลและเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ส่วนกลางวางไว้ ตามพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 51 ได้บัญญัติให้การจัดระเบียบบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาคมีสองรูปแบบ คือ
(1) จังหวัด พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 54 ให้มี
ผู้ว่าราชการจังหวัดท�าหน้าที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการในภูมิภาค รับนโยบายและ
ค�าสั่งจากส่วนกลาง คือ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี
กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็น
หัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการ
ส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอ�าเภอ และ
หน้า 45