Page 50 - kpib28626
P. 50
ความส�าคัญการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รายละเอียดดังนี้
1. เป็นส่วนเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความทั่วถึงในการให้บริการ
สาธารณะและแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชน
2. เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงและรวดเร็ว
เพราะความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกัน
การรอรับบริการจากรัฐบาลแต่อย่างเดียวอาจไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง
และล่าช้า
3. เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลในการประหยัดงบประมาณหรือเป็นการลดค่าใช้จ่ายของ
รัฐบาล เพราะกิจการส่วนใหญ่ที่ท้องถิ่นรับมอบจากรัฐบาล ท้องถิ่นสามารถ
ด�าเนินการได้โดยใช้รายได้ของตนเอง ซึ่งมาจากข้อก�าหนดของกฎหมาย
4. ท�าให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ รูปแบบของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในเบื้องต้น เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
ตนเองไม่ว่าจะโดยการเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง หรือการตรวจสอบการ
ก�ากับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของสภาท้องถิ่น หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งจะมี
ผลให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการปกครองในระดับประเทศ บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
(สมบูรณ์ สุขส�าราญ, 2545: 343-344)
อย่างไรก็ตาม หลักการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
ของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่น�ามาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าระบบ
การบริหารราชการแผ่นดินจะมีการปรับปรุงระบบโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากมี
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นอยู่เสมอแต่ระบบโครงสร้างความ
สัมพันธ์ทั้ง 3 อย่างนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งจะเห็นได้จากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ (อุดม
ทุมโฆสิต, จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ และจ�าลอง โพธิ์บุญ, 2547: 4-98)
1) มีปัญหาด้านประสิทธิภาพการบริหาร เนื่องจากสภาพปัญหาจากอดีตจนถึง
ปัจจุบันคือด้านโครงสร้างของระบบราชการไทย ซึ่งมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว
มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก และมีการติดต่อสื่อสารในแนวดิ่งเป็นส่วนมาก ท�าให้
เกิดปัญหาการประสานงานกันระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่นและเกิดความล่าช้าด้านข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจ
ที่จ�าเป็นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่อยู่ห่างไกล
หน้า 49