Page 52 - kpib28626
P. 52
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากอ�านาจหน้าที่ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารราชการ
ส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์
กันทั้งในระดับแนวดิ่ง (Vertical Relations) และในระดับแนวราบ (Horizontal Relations)
โดยมีการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communications) กล่าวคือ ส่วนกลาง
เป็นผู้ก�าหนดนโยบายให้แก่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ปฏิบัติและส่วนภูมิภาคและ
ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการเสนอแนะ รายงานผลการด�าเนินงานให้แก่ส่วนกลาง รวมทั้ง
สามารถให้การเสนอแนะปัญหา ข้อคิดเห็น และร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ในท้องถิ่น (Feedback) ให้ส่วนกลางเพื่อน�าไปใช้ในการก�าหนดนโยบายและแผนการท�างาน
เพื่อให้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของท้องถิ่นโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
กล่าวคือ การปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กอปรด้วย
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภท
ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนต�าบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
และการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป
จะมีขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมือง
พัทยาที่เป็นประเภทนี้
อ�านาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากการก�าหนดอ�านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติก�าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นแล้ว ยังมีการก�าหนดอ�านาจหน้าที่ไว้ใน กฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นเอง ได้แก่
1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
2) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
3) พระราชบัญญัติสภาต�าบลและองค์การบริหารส่วนต�าบล พ.ศ. 2537
4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
หน้า 51