Page 44 - kpib28626
P. 44
บริบทการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
บทน�า
ก่อนที่จะศึกษาและท�าความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ในรายละเอียดนั้น ควรที่จะท�าความเข้าใจการบริหารประเทศหรือการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการ
ส่วนต่างๆ ต่อไป
การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการมาจากการปฏิรูป
การบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงวางรากฐานการบริหารราชการ
แผ่นดินใหม่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยส่วนกลางได้มีการจัดโครงสร้างการบริหาร
ตามหน้าที่ (Function) ในรูปแบบของกระทรวงแทนการจัดตามพื้นที่ดังที่มีมาในอดีต ในส่วน
ภูมิภาคนั้นได้ปรับปรุงกลไกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ให้สามารถกระชับอ�านาจ บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
การปกครองสู่ศูนย์กลาง และขยายอ�านาจไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และก่อนที่จะขยายไปยังหัวเมือง
ทั้งได้ทรงจัดการ “การปกครองท้องที่” ใหม่ ในระดับต�าบล หมู่บ้าน (โกวิทย์ พวงงาม, 2559:
134)
นอกจากนี้ การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งในแง่ของโครงสร้าง ระบบ
การบริหารงานในกิจการต่าง ๆ ของรัฐ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�านาจหน้าที่และ
ความสัมพันธ์ทางอ�านาจการบริหารราชการแผ่นดิน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิรูปเพื่อการ
รักษาเอกราชและความมั่นคงของประเทศ (ปธาน สุวรรณมงคล และคณะ, 2537: 21-22)
ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ได้มีการวางกรอบกติกาทางการเมืองการปกครอง
ในปีถัดมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476
ได้มีการวางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยเหตุผลที่ส�าคัญของการตรากฎหมายฉบับนี้คือ เพื่อต้องการจัดรูปแบบงานให้เข้ากับ
ลักษณะการปกครอง และให้การบริหารราชการแผ่นดินรวบรัดและเร็วขึ้น (ชูวงศ์ ฉายะบุตร,
2539: 66-67)
หน้า 43