Page 40 - kpib28626
P. 40
ฉันทานุมัติที่ทุกฝ่ายร่วมกันก�าหนดขึ้น การตัดสินใจในบางกรณีอาจจะ
ไม่สามารถสร้างความเห็นพ้องตรงกันได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ต้องเป็นการ
ตัดสินใจที่มีข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้
6) เป้าหมายของการท�างานร่วมกัน กล่าวคือ ต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
ประเด็นหรือนโยบายสาธารณะเท่านั้น ต้องเป็นการร่วมมือกันท�างานที่มุ่ง
ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะหรือภารกิจของภาครัฐเป็นส�าคัญ มิใช่การอาศัย
กลไกการบริหารของภาครัฐเพื่อสร้างพื้นที่เจรจาต่อรองผลประโยชน์ของกลุ่มผล
ประโยชน์ภาคธุรกิจเอกชนเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการตัดสิน
ใจของภาครัฐ วสันต์ เหลืองประภัสร์, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ เกรียงชัย
ปึงประวัติ (2557) ยังได้เสนอไว้อีกว่า ปัจจัยที่น�าไปสู่ความส�าเร็จของการบริการ
กิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน คือ
• ความสามารถในการประสานความร่วมมือระดับบุคคล ซึ่งมี
2 ลักษณะควบคู่กัน คือ ความสามารถในการเป็นผู้ประสานเชื่อมโยง
ภาคี และ ความสามารถในการเป็นผู้สร้างเครือข่าย ทั้งนี้ผู้ประสาน
เชื่อมโยงภาคีและผู้สร้างเครือข่ายต้องมีความสามารถในการรับรู้และ
เล็งเห็นถึงความต้องการจากจุดยืนที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่าย ใน บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
ขณะเดียวกันก็สามารถมองเห็นผลลัพธ์ในภาพกว้างของการประสาน
ความร่วมมือ สามารถเข้าใจถึงการเชื่อมโยงบทบาทที่แตกต่างกันของ
ภาคีแต่ละฝ่ายในกระบวนการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมให้บรรลุผล
เข้าใจถึงสภาพข้อจ�ากัดและโอกาสขององค์กรภาคี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่ง
ผลต่อพฤติกรรมการท�างานของบุคลากรในแต่ละองค์กร เป็นผู้มีใจ
เปิดกว้าง พร้อมที่จะยอมรับ และเข้าใจผู้อื่น มีมุมมองสร้างสรรค์ใน
การดึงศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและแบ่ง
ปันความเสี่ยงต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย
มีภาวะผู้น�า มีบทบาทริเริ่มก่อตั้งความร่วมมือ เอื้ออ�านวยให้
กระบวนการสร้างความร่วมมือด�าเนินไปอย่างราบรื่นเป็นตัวเชื่อม
ระหว่างองค์กรภาคีฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยทักษะในการ
เจรจาสื่อสาร ทักษะในการประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง
องค์กรภาคี ทักษะการบริหารจัดการองค์กร ทักษะการเป็นตัวกลาง
หน้า 39