Page 36 - kpib28626
P. 36

2. ความท้าทายด้านสังคม

                      การพัฒนาเมือง ย่อมเกิดปัญหาที่ต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทพร้อมกับการจัดการบริบท
               ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตระหนัก รับรู้ ท�าความเข้าใจ เห็นความส�าคัญ

               ในการบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ด้วยการเริ่มต้นจากการส�ารวจและศึกษา
               หาความรู้เกี่ยวกับบริบทและการเปลี่ยนแปลงของเมืองหรือท้องถิ่นของตนเอง

                      ขณะเดียวกัน จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยของคณะกรรมการผู้สูงอายุ

               แห่งชาติ (กผส.) ในปี 2556 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 66 ล้านคน ทั้งมีสัญชาติ
               ไทยและไม่ใช่สัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร 65,931,550 ล้านคน และในส่วนที่

               ไม่ใช่สัญชาติไทยและไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็น แรงงานย้ายถิ่น
               จากประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ล้านคน ส�าหรับประชากรไทย จ�านวน 64 ล้านคน มีอัตราเพิ่มเพียง
               ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับ 40-50 ปีที่ผ่านมามีอัตราเพิ่มของประชากรสูงกว่า

               ร้อยละ 3 ต่อปี โครงสร้างอายุของประชากรได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมประชากรส่วนใหญ่
               เป็นกลุ่มเยาว์วัย ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นวัยผู้สูงอายุ ในปี 2556 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป

               มากถึง 9.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ท�าให้สังคม
               ไทยในปัจจุบันเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” (Aged Society) อัตราเพิ่มของผู้สูงอายุปีละประมาณ
               5 แสนคน คาดว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์          บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย

               (Complete Aged Society) จ�านวนประชากรผู้สูงอายุจะมีประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่ม
               ขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือ “จะมีผู้สูงอายุ 1 คนในประชากรทุกๆ 5 คน”

               อันเป็นผลจากการที่อัตราเกิดของคนไทยลดลงอย่างมากและชีวิตของคนไทยที่ยืนยาวขึ้น และ
               จะเป็น “สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด” (Super Aged Society) เมื่อประชากรสูงอายุเพิ่มสูง
                                                               4
               ถึง ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ประมาณปี 2578  องค์กรปกครองท้องถิ่นจะต้องมี
               การเตรียมความพร้อมในการรับมือดังกล่าวอาทิเช่น การส�ารวจจัดท�าฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
               ระบบจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น

                      ปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้จะไม่ใช่หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบการพัฒนา

               คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยตรง แต่ด้วยการกระจายอ�านาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น






               4 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ, รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ: อมรินทร์
               พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2557, หน้า 6.





                                                         หน้า 35
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41