Page 34 - kpib28626
P. 34

ท�าให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอแก่การด�ารงชีวิต มีการงานอาชีพที่สุจริต มีการผลิตและตลาด
                   สินค้าบริการที่เกี่ยวเนื่องพึ่งพาสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสมดุลใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
                   ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงเกินความเหมาะสม มีหน่วย

                   เศรษฐกิจใหม่ ๆ ซึ่งมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากกว่าเดิมเกิดขึ้นอย่างสม�่าเสมอ ในระบบ
                   เศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง ๆ หรือของเมืองหรือท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ควรมีหน่วยเศรษฐกิจจ�านวน

                   มากและมีความหลายหลายมากเพียงพอที่จะท�าหน้าที่เป็นข้อต่อห่วงโซ่ของระบบการผลิต การ
                   ตลาด และการให้บริการภายในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างครบวงจร และควร
                   มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากเพียงพอที่จะรองรับก�าลังแรงงานในประเทศหรือในเมืองหรือใน

                   ชุมชนนั้นๆ ได้อย่างสมดุล ฯลฯ เหล่านี้เป็นสภาวะเศรษฐกิจที่พึงปรารถนาการพัฒนาเศรษฐกิจ
                   ท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้ ก็ต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ในเบื้องต้น เมืองหรือท้อง

                   ถิ่นแต่ละแห่งต้องมีประชากรหรือพลเมืองที่มีคุณภาพ คือมีความรู้มีทักษะที่จ�าเป็นส�าหรับการ
                   ประกอบอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งมีความรู้และทักษะที่จะเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจ มีระเบียบ
                   วินัยและอุปนิสัยใจคอที่ขยันท�าการงาน ฯลฯ ประการต่อมา เมืองหรือท้องถิ่นแต่ละแห่งต้องมี

                   สิ่งอ�านวยความสะดวกพื้นฐานเพียงพอ ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและใช้
                   ประโยชน์ได้ในราคาที่ประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระบบการคมนาคมขนส่ง สื่อสาร สาธารณูปโภค

                   ประเภทน�้าประปาและพลังงาน นวัตกรรมทางเทคโนโลยี พื้นที่ส�าหรับการประกอบกิจการ
                   ประเภทต่าง ๆ ฯลฯ ไปจนถึงตลาดหรือช่องทางและข้อมูลที่จ�าเป็นส�าหรับการลงทุน การระดม      บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
                   ทุน การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบริการ และสิ่งอ�านวยความสะดวกทางสังคมส�าหรับรองรับ

                   วิถีชีวิตของพลเมือง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีต�ารวจ ฯลฯ เป็นต้น

                           ถ้าพิจารณาขอบเขตอ�านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยตามที่

                   กฎหมายบัญญัติก็อาจไม่พบบทบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ “พัฒนา
                   เศรษฐกิจท้องถิ่น” ไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ในขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติให้องค์กร
                   ปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล อบต. หรือองค์กรปกครองส่วน

                   ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษคือกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ก็ล้วนแต่มีอ�านาจหน้าที่เกี่ยวข้อง
                   โดยตรงกับกิจกรรมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง แม้จะไม่

                   ครอบคลุมครบถ้วนทุกประเภทก็ตาม เช่น ให้มีอ�านาจหน้าที่ในการจัดให้มีโครงสร้างและ
                   สิ่งอ�านวยความสะดวกพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง การผังเมืองการจัดการศึกษา
                   สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดให้มีตลาด การส่งเสริมอาชีพส่งเสริมการลงทุน ส่งเสริม

                   การท่องเที่ยว จัดท�าทะเบียนกิจการพาณิชย์ตลอดจนถึงการควบคุมดูแลโรงงาน สถานบริการ
                   และสถานเก็บและจ�าหน่ายน�้ามันเชื้อเพลิงให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายเพื่อความปลอดภัย





                                                         หน้า 33
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39