Page 32 - kpib28626
P. 32

ลักษณะส�าคัญ โดยการเปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน
               ไปสู่การเกษตรมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming)
               โดยเกษตรกรต้องร�่ารวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

               เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา
               ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก

               Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต�่า ไปสู่ High Value Services และ
               เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต�่าไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง













                      Thailand 4.0 กับการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อ

               ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ด้วยการแปลง
               “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ”

               และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” โดยการเติม             บริบทการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นไทย
               เต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและ
               พัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม

               เป้าหมาย” อันประกอบด้วย (1) กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agri-
               culture & Bio - Tech) (2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health,

               Wellness & Bio - Med) (3) กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่
               ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) (4) กลุ่ม
               ดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และ

               เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, Lot, Artificial Intelligence & Embedded Technol-
               ogy) (5) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Cul-

               ture & High Value Services) อีกทั้ง Thailand 4.0 มีการตั้งเป้าหมายของการด�าเนินงาน
               ตามยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” คือ การขับเคลื่อน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
               เป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เป็นการเปลี่ยน “ปัญหาและ

               ความท้าทาย” ให้เป็น “ศักยภาพและโอกาส” ในการสร้างความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืนให้
               กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม (ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี, 2560)





                                                         หน้า 31
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37