Page 120 - 23464_Full text
P. 120

119



                          โดยสรุป การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่มีบัตร
                   ใบเดียวกลับไปเป็นระบบผสมแบบเสียงข้างมากที่มีบัตร 2 ใบตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เกิดขึ้นและ

                   ส าเร็จลงได้เพราะผลประโยชน์ของพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคในระบบการเมืองไทย คือ พรรคเพื่อไทย
                   แกนน าฝ่ายค้าน และพรรคพลังประชารัฐ แกนน าฝ่ายรัฐบาล  (ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)
                   มีความสอดคล้องกัน แม้ว่าจะอยู่ต่างขั้วการเมืองแต่ทั้ง 2 พรรคประเมินว่าระบบเลือกตั้งแบบบัตร
                   2 ใบที่นับคะแนนแบบเสียงข้างมาก (MMM) จะช่วยท าให้ทั้ง 2 พรรคชนะการเลือกตั้งและจัดตั้ง

                   รัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้ ซึ่งเป็นการประเมินที่มีเหตุมีผลเนื่องจากในทางหลักการสากลและธรรมชาติ
                   ของระบบเลือกตั้งแบบ MMM เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่มีความได้เปรียบ
                   เหนือพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กในการแข่งขัน และในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของ
                   ไทยในช่วงที่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ MMM ก็ชี้ชัดว่าสร้างความได้เปรียบให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่

                   ถึงขั้นที่สามารถชนะการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาดได้

                          ดังนั้น พรรคเพื่อไทยซึ่งชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมากมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการใช้ระบบ
                   MMM ในการเลือกตั้งปี 2544 และคุ้นเคยกับระบบนี้เป็นอย่างดีจึงสนับสนุนระบบเลือกตั้งดังกล่าว
                   ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากพรรคเพื่อไทย และมีฐาน

                   อ านาจรัฐและเครือข่ายทรัพยากรที่กว้างขวางจากการเป็นแกนน ารัฐบาล ก็ประเมินว่าการเปลี่ยนไป
                   ใช้ระบบ MMM จะให้ประโยชน์ 2 ประการส าคัญ คือ หนึ่ง ท าให้พรรคของตนมีขนาดใหญ่ขึ้นและ
                   แข่งขันกับพรรคเพื่อไทยได้สูสี และสอง ช่วยลดทอนโอกาสที่พรรคก้าวไกลจะชนะการเลือกตั้ง เพราะ
                   ทุกฝ่ายประเมินตรงกันว่าระบบเลือกตั้งแบบ MMM ท าให้พรรคก้าวไกลเสียเปรียบ เนื่องจากขาดฐาน
                   เสียงที่เข้มแข็งในเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้การที่ระบบการเลือกตั้งแบบ MMM ได้รับการสนับสนุนจาก

                   พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ส่งผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภา
                   ที่อยู่ในเครือข่ายของพล.อ. ประวิตร ไม่ให้ขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ จนท าให้
                   การแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนระบบเลือกตั้งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปได้



                   ผลกระทบทางการเมืองของการเปลี่ยนกติกา: ภูมิทัศน์ใหม่ของการเมืองไทยและผลลัพธ์ที่ไม่ตรง

                   กับการออกแบบ
                          ในส่วนผลกระทบของการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปันส่วนผสมมาเป็นระบบ

                   ผสมแบบเสียงข้างมากในการเลือกตั้งปี 2566 งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าผลกระทบที่ส าคัญ 5 ประการหลักมี
                   ดังต่อไปนี้

                          ก.  ความเป็นสัดส่วนระหว่างคะแนนเสียงกับที่นั่ง (proportionality)

                          เมื่อน าผลการเลือกตั้งปี 2566 เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งระหว่างปี 2544-2562 พบว่า
                   ความเป็นสัดส่วนระหว่างคะแนนและที่นั่งของพรรคที่ชนะเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ

                   การเลือกตั้งปี 2544 ซึ่งใช้ระบบเลือกตั้งผสมแบบเสียงข้างมากเช่นเดียวกัน เพียงแต่ความไม่เป็น
                   สัดส่วนเกิดขึ้นคนละทิศทาง ในการเลือกตั้งปี 2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งชนะอันดับหนึ่งได้ที่นั่งเกิน
                   สัดส่วนคะแนนนิยมที่ประชาชนมีต่อพรรค ในขณะที่ในการเลือกตั้งปี 2566 พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งน้อย
                   เกินกว่าคะแนนที่ประชาชนมอบให้พรรค แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบความไม่เป็นสัดส่วนที่เกิด
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125