Page 117 - 23464_Full text
P. 117

116



                                                         บทที่ 5

                     บทสรุป: การเมืองของการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งและผลกระทบต่อภูมิทัศน์การเมืองไทย


                          งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์สาเหตุและเหตุผลที่ท าให้มีการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.
                   2560 ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งทั้งที่ผ่านกระบวนการในรัฐสภาและนอกรัฐสภา และวิเคราะห์
                   ผลทางการเมืองของการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติประกอบ

                   รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 โดยศึกษาจากผลการเลือกตั้ง
                   ทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยพิจารณาโครงสร้างทางการเมือง ระบบพรรคการเมือง เสถียรภาพทางการเมือง
                   และความเข้มแข็งของรัฐบาล โอกาสในการแข่งขันของพรรคขนาดเล็ก รวมถึงผลกระทบที่มีต่อการ
                   ตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง



                   การเมืองของการเปลี่ยนกติกา: ผลประโยชน์ที่บรรจบกันของพรรคการเมืองขนาดใหญ่

                          ในส่วนของสาเหตุและเหตุผลที่ผลักดันให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง
                   ผลการศึกษาพบว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนระบบเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางกระแส 2 กระแสที่มา

                   บรรจบกัน คือ หนึ่ง กระแสการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งริเริ่มโดย
                   ขบวนการภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มที่ก่อตัวในช่วง พ.ศ. 2563 เนื่องจากภาคประชาชนเล็งเห็น
                   ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 เป็นกติกาที่ขาดความชอบธรรมในแง่ที่มาเนื่องจากเป็นผลผลิตของ
                   การรัฐประหารล้มล้างการปกครองในปี พ.ศ. 2557 และยังขาดความเป็นประชาธิปไตยในด้านเนื้อหา

                   เพราะมีการลดทอนอ านาจและสิทธิเสรีภาพของประชาชน จ ากัดการมีส่วนร่วมของประชาชน
                   เพิ่มอ านาจให้องค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และท าลายความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมือง
                   องค์กรประชาสังคมหลายกลุ่มรวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวของเยาวชนคนรุ่นใหม่จึงเคลื่อนไหวผลักดัน
                   ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญจากการเลือกตั้งของประชาชนเพื่อร่าง

                   รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยเน้นไปที่ประเด็นโครงสร้างอ านาจ ที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มาและ
                   ขอบเขตอ านาจขององค์กรอิสระและวุฒิสภา การกระจายอ านาจ และประเด็นสิทธิเสรีภาพของ
                   ประชาชน ส าหรับในส่วนกติกาการเลือกตั้ง ภาคประชาชนไม่ได้มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมว่าสนับสนุน
                   ระบบเลือกตั้งแบบใด แต่เสนอให้มีกระบวนการอภิปรายสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม

                          การที่ภาคประชาชนไม่ได้เสนอ “พิมพ์เขียว” ว่าระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมที่สุดส าหรับ

                   สังคมไทยในทัศนะของประชาชนคือระบบเลือกตั้งใด แม้ว่าจะเกิดจากความตั้งใจที่ดีที่ไม่ต้องการถูก
                   มองว่ามุ่งเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบให้กับพรรคการเมืองใดเป็นการเฉพาะ แต่ผล
                   การศึกษาชี้ว่าข้อเสียของการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้น าเสนอตัวแบบระบบเลือกตั้งที่เป็นรูปธรรมมีมากกว่า
                   ข้อดี ซึ่งข้อเสียประการส าคัญคือ ท าให้ประเด็นกติกาการเลือกตั้งกลายเป็นวาระที่ถูกชี้น าและก ากับ

                   โดยพรรคการเมือง โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการถกเถียงและตัดสินใจเลือก การต่อสู้
                   ในการปรับเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้งถูกช่วงชิงไปเป็นวาระทางการเมือง (political agenda)
                   ของพรรคการเมืองแทนที่จะเป็นวาระสาธารณะ (public agenda) ของประชาชน
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122