Page 121 - 23464_Full text
P. 121
120
ขึ้นกับทุกพรรคการเมืองประกอบกัน การเลือกตั้งปี 2566 เป็นการเลือกตั้งที่มีความไม่เป็นสัดส่วน
มากที่สุด เพราะมีพรรคการเมืองจ านวนมากได้ที่นั่งในสภาไม่สอดคล้องกับคะแนนนิยมของพรรค
ข. ความเข้มแข็งและเสถียรภาพของรัฐบาล (government)
ระบบเลือกตั้งผสมแบบเสียงข้างมากที่น ามาใช้ในการเลือกตั้งปี 2566 ท าให้การจัดตั้งรัฐบาล
ผสมประกอบด้วยจ านวนพรรคการเมืองที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับรัฐบาลผสมที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
ปี 2562 เนื่องจากพรรคการเมืองขนาดเล็กเข้าสู่สภาน้อยลง แต่การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งกลับมาใช้
ระบบผสมแบบเสียงข้างมากในปี 2566 ไม่ได้น าไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวเสียงข้างมากเด็ดขาด
เหมือนในอดีตช่วงปี 2548 เนื่องจากภูมิทัศน์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเปลี่ยนแปลงทั้งใน
ส่วนพรรคการเมือง รูปแบบความขัดแย้งทางสังคม และความคิดของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ท าให้ผลลัพธ์
ทางการเมืองของการใช้กติกาการเลือกตั้งเดียวกันไม่ได้มีผลลัพธ์เหมือนเดิม ในการเลือกตั้งปี 2562
ไม่มีพรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
รวมถึงไม่มีพรรคใดที่ได้ที่นั่งมากพอ (เกินครึ่งหรือเกือบถึงครึ่งหนึ่ง) ที่จะตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคเด่น
พรรคเดียวได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยซึ่งระบอบประชาธิปไตยยังไม่ลงหลักปักฐาน เสถียรภาพของ
รัฐบาลย่อมถูกก าหนดจากหลายเหตุปัจจัยมิใช่เพียงแค่ระบบเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร
รวมถึงปรากฏการณ์ทางการเมืองที่อ านาจฝ่ายตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนสามารถ
สั่นคลอนอ านาจของรัฐบาลได้ นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงสถาบันและกลไกทางการเมืองอื่นๆ
นอกเหนือจากระบบเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ถูกออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งในกรณีของ
รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 รูปแบบและที่มาของวุฒิสภาที่ถูกก าหนดไว้ในบทเฉพาะกาลมีบทบาทส าคัญ
ต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เนื่องจากว่าในช่วง 5 ปีแรกหลังจากบังคับใช้รัฐธรรมนูญ บทเฉพาะกาลของ
รัฐธรรมนูญระบุให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมีอ านาจในการเลือกนายกฯ ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร ท าให้เกิดปรากฏการณ์ที่วุฒิสภาอยู่ในสถานะที่เป็นผู้ก าหนดการจัดตั้งรัฐบาลว่าจะยินยอม
(หรือไม่ยินยอม) ให้พรรคการเมืองใดเป็นผู้น าการจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองที่ชนะอันดับหนึ่งและ
สามารถรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้แล้วแต่แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคไม่ผ่านความ
เห็นชอบจากวุฒิสภา พรรคการเมืองดังกล่าวก็ไม่สามารถเป็นแกนน าจัดตั้งรัฐบาลได้ (ดังกรณีพรรค
ก้าวไกลที่สามารถรวมเสียงของพรรคการเมือง 8 พรรค ซึ่งมีจ านวนที่นั่งรวมกัน 312 ที่นั่งเพื่อตั้ง
รัฐบาล แต่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคก้าวไกลไม่ได้
รับเสียงสนับสนุนเพียงพอจากวุฒิสมาชิกในการลงคะแนนเลือกนายกฯ) ในทางตรงกันข้าม พรรค
การเมืองที่ไม่ชนะการเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่หนึ่งแต่ได้รับเสียงสนับสนุนที่เพียงพอจากวุฒิสภาก็
สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แม้จะเป็นรัฐบาลผสมที่มีเสียงปริ่มน้ า หรือเป็นรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วย
พรรคการเมืองจ านวนมากที่มีอุดมการณ์และแนวทางการเมืองที่ขัดแย้งกันซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพ
ของรัฐบาลได้ ด้วยสาเหตุปัจจัยนอกเหนือกลไกการเลือกตั้งดังกล่าวท าให้ในกรณีของไทยไม่มีข้อสรุป
ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลือกตั้งกับความเข้มแข็งและเสถียรภาพของรัฐบาลแบบ
เดียวกับกรณีศึกษาในต่างประเทศ