Page 125 - 23464_Full text
P. 125
124
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ภาคประชาชนกับความรู้เรื่องระบบเลือกตั้ง
งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นประเด็นส าคัญว่าการต่อสู้ถกเถียงเรื่องการแก้ไขระบบเลือกตั้ง
ถูกก าหนดโดยผลประโยชน์ของพรรคการเมืองต่างๆ เป็นส าคัญ ตั้งแต่ตัวแบบของระบบเลือกตั้ง สูตร
ในการค านวณคะแนนและที่นั่ง การก าหนดหรือไม่ก าหนดเพดานขั้นต่ า พรรคการเมืองแต่ละพรรค
ออกมาอธิบายให้เหตุผลกับสาธารณะเพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นชอบกับเหตุผลของพรรคการเมือง
นั้นๆ โดยค าอธิบายหลายชุดเป็นค าอธิบายที่จงใจน าเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและเลือกน าเสนอ
หลักการเพียงบางส่วน กระทั่งในบางกรณีมีการน าเสนอเหตุผลที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาจนก่อให้เกิด
ความสับสนในสังคม ดังกรณีการถกเถียงเรื่องสูตรหาร 100 และ สูตรหาร 500 เป็นต้น
ปรากฎการณ์ที่การถกเถียงและการออกแบบระบบเลือกตั้งถูกผูกขาดโดยพรรคการเมือง
เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะกติกาการเลือกตั้งเป็นกติกาทางการเมืองที่ส าคัญที่สุดประการหนึ่ง
เนื่องจากเป็นตัวก าหนดความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมือง เสถียรภาพของรัฐบาล โอกาสของ
พรรคทางเลือกที่จะเติบโต และการสร้างความหลากหลายของนโยบายในสนามการแข่งขันเลือกตั้ง
การตัดสินใจเลือกว่าประเทศควรจะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด ควรมาจากการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนทุกกลุ่มเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสร้างส านึกความเป็นเจ้าของกฎกติกาในการแข่งขัน
ร่วมกัน ซึ่งเงื่อนไขส าคัญที่จะท าให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการถกเถียงเพื่อค้นหาระบบ
เลือกตั้งที่ดีที่สุดให้สังคมไทยอย่างแท้จริง มี 2 ประการคือ ประการแรก การเปิดพื้นที่สาธารณะของ
การถกเถียงให้ครอบคลุมคนทุกกลุ่มซึ่งไม่ควรจ ากัดแค่การออกแบบระบบเลือกตั้งเท่านั้น แต่ควร
ครอบคลุมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาบันทางการเมืองส าคัญในรัฐธรรมนูญทั้งหมด
ประการที่สอง การท าให้องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายและท าให้ประชาชน
ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว ในส่วนนี้สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ควรร่วมมือกันในการสร้าง
และเผยแพร่องค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งประเภทต่างๆ ที่มีการน ามาใช้ในประเทศต่างๆ
เปรียบเทียบให้ประชาชนทราบถึงลักษณะส าคัญ จุดอ่อน และจุดแข็งของระบบเลือกตั้งแต่ละประเภท
ที่มีอยู่ในโลก รวมถึงอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นว่าระบบเลือกตั้งแต่ละระบบที่ประเทศไทยเคย
น ามาใช้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีข้อดี ข้อเสีย และส่งผลกระทบต่อการเมืองไทยอย่างไร ซึ่งองค์ความรู้
ในเชิงเปรียบเทียบและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์นี้จะช่วยให้ประชาชนติดตามข้อถกเถียงทาง
การเมืองได้อย่างทันเหตุการณ์และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะท าให้การร่างรัฐธรรมนูญและ
การออกแบบระบบเลือกตั้งในอนาคตเป็นการออกแบบสถาบันทางการเมืองที่เหมาะสมสอดคล้องกับ
สังคมไทย และเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง