Page 124 - 23464_Full text
P. 124
123
ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ตอกย้ าว่าระบบเลือกตั้งส่งผลส าคัญต่อโอกาสในการแข่งขันของพรรค
ขนาดเล็ก โดยกลไกย่อยในระบบเลือกตั้งที่มักจะถูกมองข้ามอย่างเพดานขั้นต่ าก็ส่งผลเปลี่ยนแปลง
สัดส่วนที่นั่งของพรรคขนาดเล็กอย่างมีนัยส าคัญ แต่ประเด็นที่ส าคัญคือ ในสภาวะที่สังคมยังมี
ความขัดแย้งแบ่งขั้วสูง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะลงคะแนนให้กับพรรคขนาดใหญ่ที่มีอุดมการณ์
ชัดเจนและมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าที่จะแบ่งคะแนนให้กับพรรคเล็ก ดังที่พบว่าพรรคขนาดเล็ก
ได้สัดส่วนคะแนนที่น้อยมากทั้งระบบเขตและบัญชีรายชื่อ ปัจจัยส าคัญส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
ความอ่อนแอของพรรคขนาดเล็กเองที่ไม่ได้น าเสนอชุดนโยบายหรืออุดมการณ์ทางเลือกอย่างแท้จริง
พรรคขนาดเล็กส่วนใหญ่ของไทยยังคงเป็นพรรคที่เน้นความเป็นจังหวัดนิยม การเมืองแบบอุปถัมภ์
ท้องถิ่น และการเมืองที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าการแข่งขันเชิงนโยบาย
จ. ความง่ายต่อความเข้าใจของผู้ลงคะแนน (simplicity)
งานวิจัยชิ้นนี้ใช้จ านวนบัตรเสียเป็นดัชนีสะท้อนความยากง่ายของระบบเลือกตั้ง พบว่าเมื่อ
เปรียบเทียบกับการเลือกตั้ง 5 ครั้งก่อนหน้า การเลือกตั้งปี 2566 มีจ านวนบัตรเสียน้อยที่สุดซึ่งถือว่า
เป็นแนวโน้มที่ดี เพราะจ านวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย แต่จ านวนบัตร
เสียกลับลดน้อยลง เหตุผลประการส าคัญเป็นเพราะว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่คุ้นเคยกับระบบ
เลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 (สะดุดหยุดลง
เพียงในการเลือกตั้งปี 2562) ฉะนั้นระบบเลือกตั้งแบบผสมแบบบัตร 2 ใบจึงตอบโจทย์ในเรื่อง
ความง่ายต่อความเข้าใจของผู้ลงคะแนน
ข้อค้นพบประการที่สอง คือ จ านวนบัตรเสียในระบบบัญชีรายชื่อน้อยกว่าจ านวนบัตรเสียใน
ระบบเขต ซึ่งถือว่าเป็นแบบแผนที่สอดคล้องกับการเลือกตั้งครั้งอื่นๆ เนื่องจากระบบบัญชีรายชื่อนั้น
ลงคะแนนได้ง่ายกว่าเพราะมีชื่อพรรคและโลโก้พรรคชัดเจน ในขณะที่บัตรเลือกตั้งในระบบเขตมี
ความซับซ้อน โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งนี้สร้างความสับสนให้ประชาชนที่ต้องลงคะแนนเป็นอย่าง
มากเนื่องจาก หนึ่ง ผู้สมัครแบบเขตของพรรคเดียวกันแต่กลับมีหมายเลขแตกต่างกันในแต่ละเขต
เลือกตั้ง และสอง บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจะระบุเพียงเบอร์ของผู้สมัคร แต่ไม่มีชื่อและนามสกุลของ
ผู้สมัครและไม่มีชื่อพรรคที่ผู้สมัครสังกัด ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนอย่างมาก
ปัญหาหลักที่ท าให้ยังคงมีบัตรเสียในอัตราที่สูงเกือบร้อยละ 4 ในการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะเป็น
ระบบเลือกตั้งที่คนไทยคุ้ยเคยอยู่แล้ว มาจากเกณฑ์วินิจฉัยบัตรเสียที่เคร่งครัดจนเกินไปของเจ้าหน้าที่
นับคะแนน โดยไม่พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของประชาชน บัตรเลือกตั้งจ านวนมากถูกวินิจฉัยให้เป็น
บัตรเสียด้วยเกณฑ์การวินิจฉัยที่หยุมหยิม มุ่งจับผิด ทั้งยังขาดความคงเส้นคงวา ไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน
ของการวินิจฉัย
ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ตอกย้ าว่าระบบเลือกตั้งแต่ละระบบที่ประเทศไทยเคยใช้มาไม่ได้ท าให้
เกิดบัตรเสียมากและน้อยต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ แต่การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งถี่เกินไปท าให้ประชาชน
เกิดความสับสนในการลงคะแนน บวกกับการออกแบบบัตรเลือกตั้งในระบบเขตที่สร้างความยุ่งยาก
และสับสนให้กับผู้มีสิทธิลงคะแนน รวมกับการใช้เกณฑ์วินิจฉัยบัตรเสียที่เคร่งครัดโดยไม่พิจารณาถึง
เจตนารมณ์ของประชาชนท าให้บัตรเสียยังคงมีปริมาณสูงในการเลือกตั้งของไทย