Page 123 - 23464_Full text
P. 123
122
ส่วนต่างคะแนนระหว่างระบบเขตกับระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคสะท้อนว่าพรรค
การเมืองในระบบพรรคการเมืองไทยปัจจุบันอาจถูกจ าแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง พรรคที่
สถาบันพรรคแข็งแรงกว่าตัวผู้สมัคร ได้แก่พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรค
ประชาชาติ สอง พรรคที่ตัวผู้สมัครแข็งแรงกว่าพรรค ได้แก่พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ
พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทยพัฒนา และสาม พรรคที่ตัวผู้สมัครกับพรรคแข็งแรงทัดเทียม
กัน ได้แก่พรรคเพื่อไทย
โดยสรุป การเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 ที่มีการเปลี่ยนกลับไปใช้ระบบผสมแบบเสียงข้างมาก
ไม่ได้ส่งผลให้ระบบพรรคการเมืองไทยย้อนกลับไปสู่ระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่มีพรรคใดพรรค
หนึ่งชนะเสียงข้างมากถึงครึ่งหนึ่งของสภา รวมทั้งไม่ได้ท าให้ระบบพรรคการเมืองไทยมีความเข้มแข็ง
ขึ้น การที่ไม่มีเพดานขั้นต่ าในการค านวณที่นั่งระบบบัญชีรายชื่อท าให้มีพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มี
ผู้แทนเพียง 1 ที่นั่งซึ่งไม่มีนโยบายหรือแนวทางการเมืองที่ชัดเจนว่าเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่ม
สังคมใดเข้าสู่สภาจ านวนหลายพรรค ท าให้ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรคที่มีความกระจัด
กระจาย มากกว่าที่จะเป็นระบบหลายพรรคที่มีความเข้มแข็ง นอกจากนั้นการเสื่อมถอยของพรรค
การเมืองขนาดใหญ่ที่ด ารงอยู่แต่เดิมในระบบ บวกกับการที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากอย่าง
ชัดเจนน าไปสู่การต่อรองและช่วงชิงการน าในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเข้มข้นระหว่างพรรคการเมือง จน
น าไปสู่การเปลี่ยนจุดยืนและการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองที่เคยประกาศและสัญญาไว้กับประชาชนตอน
รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ท าให้การจัดตั้งรัฐบาลมิได้สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้เลือกตั้งอย่าง
ตรงไปตรงมา ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนความอ่อนแอของระบบพรรคการเมืองที่ขาดความยึดโยง
กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สนับสนุนของพรรคการเมือง
ช่องว่างระหว่างคะแนนบัญชีรายชื่อและคะแนนในระบบเขตที่แต่ละพรรคได้รับยังสะท้อนว่า
พรรคการเมืองไทยยังไม่สามารถพัฒนาตนเองเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็งในระดับที่สามารถท าให้
ประชาชนเชื่อมั่นทั้งในนโยบายของพรรคและผู้สมัครที่พรรคคัดเลือกมาลงแข่งขันในเขตเลือกตั้ง
พรรคการเมืองจ านวนมากเน้นความนิยมและชื่อเสียงส่วนตัวของผู้สมัครในการดึงคะแนนเสียง
มากกว่านโยบายและอัตลักษณ์ทางการเมืองที่เข้มแข็งของพรรค ในขณะที่พรรคการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง
มีนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน แต่ยังขาดความเข้มแข็งในการคัดเลือกผู้สมัครที่มี
ความสามารถโดดเด่นและยึดโยงกับเขตเลือกตั้งมาเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ ช่องว่างทั้งสอง
รูปแบบนี้สะท้อนว่าระบบพรรคการเมืองไทยยังขาดความเข้มแข็งในฐานะกลไกตัวแทนที่สะท้อน
ผลประโยชน์ของประชาชน
ง. การให้ความส าคัญกับพรรคขนาดเล็ก (representation)
ผลการเลือกตั้งปี 2566 ชี้ว่าระบบเลือกตั้งผสมแบบเสียงข้างมากที่ไม่มีเพดานขั้นต่ าในระบบ
บัญชีรายชื่อส่งผลกระทบต่อพรรคขนาดเล็กในลักษณะครึ่งๆ กลางๆ คือ พรรคขนาดเล็กมีโอกาสเข้าสู่
สภาได้มากกว่าการเลือกตั้งระหว่างปี 2544-2548 ที่มีเพดานขั้นต่ า แต่พรรคขนาดเล็กก็มีจ านวน
ลดลงและท าผลงานได้แย่ลงเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 ที่ใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมบัตรใบ
เดียว โดยครั้งนี้มีพรรคขนาดเล็กในสภาจ านวน 12 พรรค โดยมีถึง 7 พรรคที่มี ส.ส. เพียง 1 คน
เทียบกับการเลือกตั้งปี 2544 ที่มี 4 พรรค, ปี 2548 ที่มี 1 พรรค, ปี 2550 ที่มี 3 พรรค, ปี 2554 ที่มี
7 พรรค, และปี 2562 ที่มี 19 พรรค