Page 118 - 23464_Full text
P. 118

117



                          การที่ภาคประชนมิได้น าเสนอตัวแบบระบบเลือกตั้งที่พึงปรารถนายังสะท้อนสภาพปัญหา
                   ส าคัญที่ด ารงอยู่มายาวนานในสังคมไทย คือ ความรู้เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งถูกท าให้กลายเป็นความรู้

                   เชิงเทคนิคที่เข้าใจยากส าหรับคนธรรมดาทั่วไป ส่งผลให้การถกเถียงเรื่องกติกาการเลือกตั้งถูกผูกขาด
                   ครอบง าโดยนักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์จ านวนน้อยราย

                          อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เรียกร้องของภาคประชาชนที่ผลักดันให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
                   ทั้งฉบับแม้จะไม่ส าเร็จ แต่ก็สร้างให้เกิดการถกเถียงในวงกว้างเกี่ยวกับความชอบธรรมและปัญหาของ
                   รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 และส่งแรงกระเพื่อมกดดันให้พรรคการเมืองต้องแสดงท่าทีต่อการแก้ไข

                   รัฐธรรมนูญ แม้ว่าหลายพรรคการเมืองจะไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม อย่างไรก็ตาม
                   พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคไม่สนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ หากสนับสนุนให้มีการแก้ไข
                   เพียงบางมาตรา โดยประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากบรรดาพรรคการเมือง คือ เรื่องการแก้
                   ระบบเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นประเด็นการต่อสู้ส าคัญระหว่างพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

                          ผลการวิจัยพบว่าแต่ละพรรคการเมืองพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขระบบเลือกตั้งไปใน

                   ทิศทางที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์และโอกาสในการชนะการเลือกตั้งของแต่ละพรรคมากที่สุด
                   โดยพิจารณาจากแบบแผนผลการเลือกตั้งในอดีตจนถึงแนวโน้มที่ปรากฏในการเลือกตั้งปี 2562
                   เป็นฐานในการตัดสินใจแก้ไขระบบเลือกตั้ง ผลการศึกษาที่น่าสนใจคือ จุดยืนของพรรคการเมือง
                   ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนระบบเลือกตั้งนั้นตัดข้ามเส้นแบ่งการเป็นพรรคฝ่ายค้านและ

                   ฝ่ายรัฐบาล แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของพรรคการเมืองและธรรมชาติของพรรคการเมือง ว่าเป็นพรรคขนาด
                   ใหญ่หรือขนาดเล็ก เป็นพรรคที่ถนัดในการแข่งขันระบบเขตหรือระบบบัญชีรายชื่อ ดังนั้นจึงพบว่า
                   พรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคขนาดเล็ก

                   ในฝั่งรัฐบาลมีจุดยืนสนับสนุนระบบเลือกตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล
                   ซึ่งเป็นแกนน าพรรคร่วมฝ่ายค้านก็มีระบบเลือกตั้งที่แต่ละฝ่ายปรารถนาไม่เหมือนกันโดยแต่ละพรรคมี
                   จุดยืนในการแก้ไขระบบเลือกตั้งดังต่อไปนี้

                          พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่ชนะเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่หนึ่งในการเลือกตั้ง
                   2562 เสนอในขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเปลี่ยนจากระบบจัดสรรปันส่วนผสมบัตรใบเดียว

                   ไปเป็นระบบผสมแบบเสียงข้างมากที่มีบัตรสองใบ และในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง
                   ประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อไทยสนับสนุนให้ใช้สูตร “หาร 100” ซึ่งเป็นวิธีค านวณคะแนนตามแบบ
                   ระบบผสมเสียงข้างมาก (หรือระบบคู่ขนาน) แบบเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ คะแนนในระบบ
                   บัญชีรายชื่อน ามาค านวณที่นั่งส.ส. บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้รับ (จากทั้งหมดจ านวน 100 ที่นั่ง)

                   มิใช่น ามาการค านวณที่นั่ง ส.ส. ทั้งหมดของแต่ละพรรค ทั้งนี้เมื่อมีการกลับมติของรัฐสภาในวาระ 2
                   หันกลับไปใช้สูตรหาร 500 เพื่อไทยไม่เห็นด้วย และใช้ยุทธวิธีนัดหมายไม่ให้ ส.ส. ของพรรคเข้าร่วม
                   การประชุมสภาในวาระ 3 เพื่อท าให้องค์ประชุมสภาไม่ครบและท าให้สูตรหาร 500 ต้องตกไป
                   เนื่องจากทางพรรคไม่ต้องการให้สูตรหาร 500 ที่พลิกกลับมาชนะในวาระ 2 สามารถผ่านสภาได้

                   หากดูจากกระบวนการถกเถียงทั้งหมด พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่มีจุดยืนชัดเจนและคงเส้นคงวาที่สุด
                   ในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมด คือ สนับสนุนระบบเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบและใช้วิธีค านวณคะแนน
                   แบบปี 2540 ซึ่งก็คือ ระบบ (MMM- mixed-member majoritarian system)
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123