Page 122 - 23464_Full text
P. 122
121
ค. ความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมือง (party system)
ผลการเลือกตั้งปี 2566 สะท้อนว่าระบบพรรคการเมืองไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนจากระบบสอง
พรรคใหญ่แบบที่ปรากฏในช่วงพ.ศ. 2544-2557 ไปสู่ระบบหลายพรรคที่มีความแตกต่างหลากหลาย
ทางนโยบายและอุดมการณ์ ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคที่เคยมีอิทธิพล
ต่อการเมืองมาเกือบสองทศวรรษ คือ พรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทยและพลังประชาชนเดิม) และพรรค
ประชาธิปัตย์ท าผลงานได้ถดถอยกว่าเดิมอย่างมีนัยส าคัญ ความถดถอยของสองพรรคกระแสหลักที่
เป็นพรรคขนาดใหญ่ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงส าคัญของระบบพรรคการเมืองไทย ซึ่งเป็น
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกที่พรรคกระแสหลักเสื่อมความนิยมลงและคนหันไป
เลือกพรรคทางเลือกใหม่มากขึ้น ซึ่งความเสื่อมความนิยมของพรรคกระแสหลักและความนิยมที่เพิ่ม
สูงขึ้นของพรรคทางเลือก มาจากหลายเหตุปัจจัย อาทิ การที่พรรคกระแสหลักเดิมมีนโยบายที่
คล้ายกันมากขึ้นจนประชาชนไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างพรรคดังกล่าว, แนวโน้มที่พรรคกระแส
หลักปรับและลดโทนความเข้มข้นอุดมการณ์ของตนเพื่อหันมาดึงดูดประชาชนตรงกลางท าให้ฐาน
เสียงเดิมผิดหวังและหันไปสนับสนุนพรรคทางเลือกที่มีอุดมการณ์ชัดเจน, บทบาทของโซเชียลมีเดีย
ที่ท าให้พรรคทางเลือกมีโอกาสหาเสียงและสื่อสารความคิดโดยตรงกับประชาชนได้มากขึ้น รวมถึง
ความล้มเหลวในการปรับตัวของพรรคกระแสหลักต่อความผันผวนทางสังคมและประเด็นปัญหาใหม่ๆ
ระบบเลือกตั้งผสมแบบบัตร 2 ใบที่ทั้งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ผลักดันอย่าง
กระตือรือร้นไม่สามารถช่วยให้ทั้งสองพรรคกลับมาสู่สถานะที่ยิ่งใหญ่เหมือนเดิมได้ รวมถึงไม่สามารถ
ช่วยให้พรรคพลังประชารัฐเติบโตเป็นพรรคขนาดใหญ่อันดับหนึ่งได้เช่นกัน ในทางตรงกันข้าม พรรค
ก้าวไกลกลับเป็นพรรคที่ท าผลงานได้ดีที่สุดโดยสามารถชนะมาเป็นอันดับหนึ่งอย่างเหนือ
ความคาดหมายของนักวิชาการและผู้สังเกตการณ์ทุกคน ทั้งที่ก่อนการเลือกตั้งทุกฝ่ายประเมินว่า
ระบบเลือกตั้งแบบ MMM จะท าให้พรรคก้าวไกลเสียเปรียบในการแข่งขันและกลายเป็นพรรคขนาด
เล็ก ดังนั้นผลการเลือกตั้งในปี 2566 จึงตอกย้ าประเด็นส าคัญทางทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบสถาบัน
ทางการเมือง (institutional design) ว่าสถาบันและกฎกติกาทางการเมืองแบบเดียวกันเมื่อน ามาใช้
ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ผลลัพธ์ไม่จ าเป็นต้องเหมือนเดิมเสมอไป
เมื่อค านวณหาค่าจ านวนพรรคการเมืองที่มีนัยส าคัญในการเลือกตั้งปี 2562 พบว่าค่าดังกล่าว
เท่ากับ 4.85 ซึ่งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งระหว่างปี 2544-2562 พบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีค่าจ านวน
พรรคการเมืองที่มีนัยส าคัญสูงกว่าปี 2544, 2548, 2550 และ 2554 แต่ต่ ากว่าการเลือกตั้งปี 2562
(ดูตารางที่ 12 และ 13) ซึ่งสะท้อนว่าระบบพรรคการเมืองของไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป
อย่างมีนัยส าคัญคือ ระบบพรรคการเมืองได้ก้าวข้ามพ้นระบบ 2 พรรคใหญ่ไปสู่ระบบหลายพรรค
โดยแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มปรากฏเค้าลางให้เห็นตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562
การเลือกตั้งปี 2566 ยังสะท้อนแนวโน้มที่น่าสนใจอีกประการส าคัญของระบบพรรค
การเมืองไทย คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวนมากมีพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบ “แบ่งคะแนน” (split
vote) ระหว่างบัตรใบแรกที่ลงคะแนนเลือกผู้แทนเขตกับบัตรใบที่สองที่ลงคะแนนเลือกพรรคในระบบ
บัญชีรายชื่อ ส่งผลให้คะแนนของพรรคการเมืองต่างๆ มีช่องว่างระหว่างคะแนนในระบบเขตกับคะแนน
ในระบบบัญชีรายชื่อ บางพรรคได้คะแนนจากผู้สมัครในระบบเขตมากกว่าคะแนนของพรรคในบัตร
บัญชีรายชื่อ บางพรรคเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม และช่องว่างนี้มีตั้งแต่ระดับต่ าไปจนถึงระดับสูงเกิน
4 ล้านคะแนน สะท้อนว่ามีการลงคะแนนแบบแบ่งคะแนนในสัดส่วนที่สูงในการเลือกตั้ง 2566