Page 115 - 23464_Full text
P. 115
114
ตารางที่ 21: เปรียบเทียบบัตรเสียจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566
จ านวนบัตรเสีย จ านวนบัตรเสีย
การเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้ง
เขต บัญชีรายชื่อ รวมสองระบบ
2566 2560 1,457,899 1,509,836 2,967,735
แก้ไขเพิ่มเติม (3.99%) (3.82%) (3.90%)
ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2566)
เมื่อพิจารณาจ านวนบัตรเสียในการเลือกตั้งปี 2566 สามารถตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้ ประการ
แรก เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้ง 5 ครั้งก่อนหน้า การเลือกตั้ง 2566 มีจ านวนบัตรเสียน้อยที่สุด
ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี เพราะจ านวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย (ร้อยละ
75.71) แต่จ านวนบัตรเสียกลับลดน้อยลง เหตุผลประการหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่
คุ้นเคยกับระบบเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544
มีสะดุดหยุดลงเพียงในการเลือกตั้ง 2562 ที่เปลี่ยนไปใช้ระบบบัตรใบเดียว ฉะนั้น การเปลี่ยนกลับมา
ใช้ระบบบัตร 2 ใบที่นับคะแนนแยกจากกัน จึงเท่ากับการหวนกลับมาใช้ระบบที่คนไทยคุ้นเคย มิใช่
การเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ถอดด้ามที่ไม่เคยใช้มาก่อนในสังคมไทย ซึ่งหากดูจากอดีต จะพบว่าทุกครั้ง
ที่มีการน าระบบใหม่อย่างสิ้นเชิงมาใช้จัดการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จ านวนบัตรเสียจะพุ่งสูง ได้แก่
การเลือกตั้งปี 2544 ที่ใช้ระบบบัตร 2 ใบเป็นครั้งแรก และปี 2562 ที่ใช้ระบบบัตรใบเดียวแต่มี ส.ส.
2 ประเภทเป็นครั้งแรก (ดูตารางที่ 20)
โดยสรุป เมื่อเปรียบเทียบระบบเลือกตั้งต่างๆ ที่ประเทศไทยใช้มานับจากปี 2544 ถึง
ปัจจุบัน ประชาชนคุ้นเคยกับระบบเลือกตั้งแบบผสมที่มีบัตร 2 ใบ (เลือกผู้แทนในระบบเขตและ
ระบบบัญชีรายชื่ออย่างละใบ) เพราะใช้ในการเลือกตั้งมาแล้วถึง 4 ครั้ง รวมครั้งนี้เป็น 5 ครั้ง
ระบบเลือกตั้งแบบผสมแบบบัตร 2 ใบจึงตอบโจทย์ในเรื่องความง่ายต่อความเข้าใจของผู้ลงคะแนน
ประการที่สอง จ านวนบัตรเสียในระบบบัญชีรายชื่อน้อยกว่าจ านวนบัตรเสียในระบบเขต
124
ซึ่งถือว่าเป็นแบบแผนที่สอดคล้องกับการเลือกตั้งครั้งอื่นๆ เนื่องจากระบบบัญชีรายชื่อนั้นกาได้ง่าย
กว่าเนื่องจากมีชื่อพรรคและโลโก้พรรคชัดเจน มิจ าเป็นต้องจ าเบอร์พรรคก็ยังสามารถหาถูกได้
ในขณะที่บัตรเลือกตั้งในระบบเขตนั้นมีความซับซ้อนกว่า โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งนี้สร้าง
ความสับสนให้ประชาชนที่ต้องลงคะแนนเป็นอย่างมากเนื่องจาก หนึ่ง ผู้สมัครแบบเขตของพรรค
เดียวกันแต่กลับมีหมายเลขแตกต่างกันในแต่ละเขตเลือกตั้ง และสอง ในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
จะมีเพียงเบอร์ระบุไว้ แต่ไม่มีชื่อและนามสกุลของผู้สมัครในแต่ละเขตและไม่มีชื่อพรรคที่ผู้สมัครสังกัด
ระบุไว้ในบัตร ท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องจ าเบอร์ผู้สมัครในเขตของตนที่ตนต้องการจะเลือกให้ถูกต้อง
124 ยกเว้นเพียงการเลือกตั้ง 2550 เท่านั้นที่จ านวนบัตรเสียในระบบบัญชีรายชื่อมีมากกว่าระบบเขต ซึ่งเกิดจากการ
ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจากเขตเลือกตั้งทั้งประเทศไปเป็นกลุ่มจังหวัดซึ่งประชาชนที่อยู่ในแต่ละ
กลุ่มจังหวัดจะมีบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแตกต่างกันไป อาจจะท าให้เกิดความสับสนได้ ดังจะเห็นได้ว่าบัตร
เสียในระบบบัญชีรายชื่อในปี 2550 สูงกว่าระบบเขตประมาณ 2 เท่าและเพิ่มขึ้นจากบัตรเสียในระบบบัญชีรายชื่อ
ของการเลือกตั้งปี 2544 และ 2548 เกือบ 2 เท่าเช่นเดียวกัน (ดูตารางที่ 20)