Page 113 - 23464_Full text
P. 113

112




                                        ที่นั่งแบบ          บัญชีรายชื่อ
                      พรรคการเมือง                                                 ที่นั่งรวม   ร้อยละ
                                           เขต      คะแนน       ร้อยละ     ที่นั่ง

                           ใหม่             0       249,731      0.67       1         1        0.20

                         ท้องที่ไทย         0       201,411      0.54       1         1        0.20

                         เป็นธรรม           0       184,817      0.49       1         1        0.20

                       พลังสังคมใหม่        0       177,379      0.47       1         1        0.20


                    ครูไทยเพื่อประชาชน      0       175,182      0.47       1         1        0.20

                      ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2566)


                   จ. ความง่ายต่อความเข้าใจของผู้ลงคะแนน (simplicity)
                          เกณฑ์ส าคัญอีกประการหนึ่งที่ใช้ในการประเมินระบบเลือกตั้ง คือ ความยากหรือง่ายต่อ

                   ความเข้าใจของผู้มีสิทธิลงคะแนน ทั้งนี้ ระบบเลือกตั้งที่ดีไม่ควรยุ่งยากซับซ้อนมากจนเกินไปจนท าให้
                   ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมีความสับสนและไม่สามารถลงคะแนนเสียงให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของตนได้
                   รวมถึงไม่ควรมีความก ากวมและเปิดช่องโหว่ในการค านวณคะแนนจนท าให้เสียงของประชาชนในคูหา

                   เลือกตั้งถูกบิดผันได้โดยง่าย

                          ดัชนีชี้วัดประการหนึ่งทีนิยมน ามาใช้เปรียบเทียบความยากง่ายของระบบเลือกต่อความเข้าใจ
                   ของผู้ลงคะแนนก็คือ จ านวนบัตรเสียในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง แน่นอนว่าบัตรเสียมิใช่ดัชนีที่สมบูรณ์
                   ที่สุดในการประเมินความง่ายของระบบเลือกตั้ง เพราะบัตรเสียอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น
                   เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งใช้ดุลยพินิจที่เข้มงวดเกินไปในการวินิจฉัยว่าการกาบัตรลักษณะใดเป็น

                   บัตรเสีย ผู้ใช้สิทธิจงใจกาบัตรเสียเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม
                   เมื่อประเมินแล้วพบว่า ประเทศไทยไม่ได้มีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการจงใจท าให้บัตรเสีย
                   ในปริมาณมากนัก เท่าที่เคยเกิดขึ้นก็มีเพียงการเลือกตั้งปี 2549 ที่เกิดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง
                   ระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อรัฐบาล ณ ขณะนั้นตัดสินใจยุบสภา

                   จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่าพรรคการเมืองหลายพรรคตัดสินใจไม่ลงแข่งขันการเลือกตั้ง และ
                   มีประชาชนบางคนจงใจท าลายบัตรเลือกตั้งเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อสถานการณ์การเมือง
                   ณ ห้วงเวลานั้น แต่ส าหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งอื่นๆ ไม่พบว่ามีการจงใจท าลายบัตรเลือกตั้ง
                         122
                   เกิดขึ้น
                          ในส่วนการวินิจฉัยที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่นับคะแนน ณ คูหาเลือกตั้งนั้นเป็นปัญหาส าคัญ

                   ของการเลือกตั้งไทย ที่ผ่านมามีนักวิชาการและองค์กรสังเกตการณ์เลือกตั้งได้เคยท้วงติงมาโดยตลอด
                   ว่าเจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งใช้เกณฑ์ที่เคร่งครัดมากเกินไปในการวินิจฉัยบัตรเสีย อาทิ การใช้
                   เครื่องหมายรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่กากบาท หรือกาออกนอกช่องที่ก าหนดไว้ก็จะถูกตัดสินว่าเป็นบัตร

                   เสีย แทนที่จะมองที่เจตนารมณ์ในการเลือกของประชาชนเป็นหลัก การวินิจฉัยด้วยเหตุผลเชิงเทคนิค




                   122  “ศาลสงขลา-ตรังยกฟ้องคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง,” ประชาไท, 24 พ.ค. 2549.
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118