Page 32 - 23461_Fulltext
P. 32
23
ช่วงปี 2548-2549 แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในเรื่องความพร้อมรับผิด
ซึ่งการออกแบบองค์กรอิสระใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อมา รัฐธรรมนูญ 2550 ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของ
องค์กรอิสระไปอย่างมีนัยยะส าคัญ
2. รัฐธรรมนูญ 2550 (2550-2557)
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากรัฐประหาร 2549 นั้น องค์กรอิสระประสบความเปลี่ยนแปลงด้าน
กฎหมายในการจัดโครงสร้าง และอ านาจหน้าที่
รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกร่างขึ้นมาจากฐานคิดของความรังเกียจนักการเมืองเลือกตั้ง ความรังเกียจนี้
แสดงให้เห็นผ่านทั้งกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เปิดให้นักการเมืองได้มีส่วนร่วม และเนื้อหา ซึ่งเน้นย้ า
เรื่องการก าจัดทุจริตประพฤติมิชอบเข้มข้นกว่าเดิม ไปพร้อมๆ กับการออกแบบระบบการเมืองที่ไม่เข้มแข็งเท่า
ปี 2540 เพื่อเปิดให้ถูกตรวจสอบได้ง่ายมากขึ้น
95
ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สุดคือการรับรองสถานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
ก.ก.ต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ส่วน
องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นองค์กร
อื่นตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรสองประเภทนี้ต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้อธิบายเอาไว้ชัดเจน แต่มีผู้อธิบาย
ในท านองว่าว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นองค์กรที่ท าหน้าที่ตรวจสอบการเข้าสู่อ านาจรัฐและการใช้
อ านาจรัฐ มีการจัดตั้ง อ านาจหน้าที่ และหลักประกันความเป็นอิสระในรัฐธรรมนูญ ส่วนองค์กรอื่นเป็นองค์กร
ที่ท าหน้าที่ในการให้ค าปรึกษาและเสนอความเห็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน องค์กรแบบหลัง
ถูกก าหนดอ านาจการจัดตั้งและหลักประกันความเป็นอิสระอยู่ในกฎหมายอื่น ค าอธิบายนี้ไม่สมเหตุสมผล
96
เท่าไหร่ เนื่องจากองค์กรอัยการนั้นไม่ได้ท าหน้าที่ให้ค าปรึกษา ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหตุใดจึงไม่ได้องค์กรที่ท าหน้าที่ตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ออกแบบองค์กรอิสระที่เข้มแข็งและท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้าน
อ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระแต่ละองค์กรถูกแก้ไขเพิ่มเติม องค์กรอิสระสามารถท างานเชิงรุกได้มากขึ้น ซึ่ง
เป็นการปิดช่องโหว่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถหยิบยกเรื่องไม่ชอบมา
พากลที่เกิดความเสียหายต่อประชาชนโดยส่วนรวม หรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะขึ้นพิจารณาได้เอง
โดยไม่ต้องรอผู้ร้องเรียน ป.ป.ช. เองถูกจ ากัดให้ดูเฉพาะผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง
ส่วนข้าราชการอื่นให้ ปปท. เป็นผู้ดูแลไป ก.ส.ม. มีอ านาจฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ และ
97
เข้าไปเป็นผู้เสียหายแทนประชาชนเพื่อฟ้องคดีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน
ข้อน่าสังเกตอีกประการคือ การขยายอ านาจของผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าไปสู่แดนของศีลธรรม โดยให้
เป็นผู้มีอ านาจเสนอแนะหรือให้ค าแนะน าในการจัดท าหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมของผู้ด ารงต าแหน่งทาง
การเมืองและข้าราชการ ซึ่งรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันด้วยเพราะอาจเป็นเหตุให้ ป.ป.ช. ด าเนินการให้น าไปสู่
95 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ค าอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (เชิงอรรถ 77) 61; รายละเอียดโดยทั่วไปดู สมคิด เลิศไพฑูรย์ (เชิงอรรถ 86)
96 ดู ดิสทัต โหตระกิตย์ ‘องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในระบบกฎหมายไทย’ (เชิงอรรถ 78) 41-44.
97 สมคิด (เชิงอรรถ 86) 34.