Page 36 - 23461_Fulltext
P. 36

27


                             บทที่ 5 โครงสร้างของการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทย


                       ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 องค์กรอิสระของไทยถูกรวบรวมไว้ในหมวดที่ 12 โดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีคือ
               ความเป็นเอกภาพในการออกแบบองค์กร และความชัดเจนในระบบคิด ว่าองค์กรใดบ้างเป็นองค์กรอิสระ บาง
               หน่วยงานซึ่งเคยถูกสงสัยว่าเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ไม่ได้น ามารวมในที่นี้ด้วย เช่น องค์กร
               อิสระเพื่อผู้บริโภค องค์กรอิสระเพื่อสิ่งแวดล้อม อัยการสูงสุด สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ

               องค์กรอิสระเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
                       ปัจจุบัน องค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญไทยเหลือเพียงห้าองค์กร คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
               คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
               และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       ในบทนี้ จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรอิสระกับอ านาจอธิปไตยฝ่ายอื่น ผ่านโครงสร้าง
               การแต่งตั้ง และอ านาจหน้าที่
                       เนื่องจากองค์กรอิสระแต่ละองค์กรมีรายละเอียดมาก บทนี้จึงเป็นการฉายภาพรวม โดยจะพูดถึง
               หลักการของแต่ละองค์กร มากกว่าจะวิพากษ์การท างานในข้อเท็จจริง



                       1. การแต่งตั้งและถอดถอนองค์กรอิสระ

                       โดยหลักการ รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติให้องค์กรอิสระต้องมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตาม
               รัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยการปฏิบัติหน้าที่และใช้อ านาจนั้น จะต้องเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม กล้าหาญ
                                                  117
               และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลพินิจ
                       ผู้ด ารงต าแหน่งในองค์กรอิสระมาจากการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย

                       (1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ
                       (2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้น าฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ
                       (3) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ

                       (4) บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหา อย่าง
                        118
               ละหนึ่งคน
                       เมื่อสรรหามาแล้ว ผู้ได้รับการสรรหาต้องได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งจากวุฒิสภา
                       ในการท างานขององค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันก าหนด
                                                                                              119
               มาตรฐานทางจริยธรรมซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติด้วย
                       องค์กรอิสระของไทยมีวาระการด ารงต าแหน่งเจ็ดปี ซึ่งนานกว่าอายุรัฐบาลที่สี่ปี และด ารงได้เพียง
               วาระเดียวเพื่อธ ารงความเป็นอิสระไว้ สามารถพ้นต าแหน่งได้ก่อนครบวาระของตนถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญ
               วินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติ ให้พ้นจากต าแหน่ง หรือศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทาง

               การเมืองมีค าพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระท าความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปราม
                       120
               การทุจริต


               117  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 215.
               118  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 217.
               119  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 219.
               120  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 218.
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41