Page 31 - 23461_Fulltext
P. 31

22


                       นอกจากนั้น ป.ป.ช. ซึ่งเป็นผู้ปราบปรามการทุจริตเอง กลับถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารง
               ต าแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษจ าคุกเนื่องจากกระท าผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระท าผิดต่อต าแหน่ง

                                                                            87
               หน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเองโดยไม่มีกฎหมายให้อ านาจไว้  แม้การลงโทษดังกล่าวจะเป็นส่วน
               หนึ่งของการเสริมสร้างความรับผิดชอบขององค์กรอิสระ แต่ก็ท าลายความน่าเชื่อถือไปพร้อมกันด้วย
                       วิกฤติศรัทธาในองค์กรอิสระมาถึงจุดสูงสุดในช่วงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
               ประชาธิปไตย (พธม) เมื่อ ก.ก.ต. ถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกับพรรคไทยรักไทยจัดการเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม

               จนท าให้ศาลรัฐธรรมนูญประกาศให้การเลือกตั้งไม่มีผล เนื่องจากมีข้อผิดปกติหลายประการ ทั้งการก าหนดวัน
               จัดการเลือกตั้งที่กระชั้นชิด และพฤติกรรมการจัดการเลือกตั้งที่หันคูหาออกนอกจนอาจท าให้เสียหลักการเรื่อง
               การออกเสียงต้องเป็นไปโดยลับ  ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญประกาศให้การเลือกตั้ง 2549 ไม่มีผลแล้ว ก.ก.ต. ได้
                                         88
               ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาสองคดี คดีแรกคือ ก.ก.ต. จัดการเลือกตั้งโดยไม่สุจริตและไม่เที่ยงธรรม ช่วยเหลือพรรค

               ไทยรักไทย ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ าคุก ก.ก.ต. ทั้งสามคน คนละสามปี และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วยอีก
               10 ปี แต่ต่อมาถูกยกฟ้องในชั้นฎีกา  คดีที่สอง กรณี ก.ก.ต. ไม่เร่งรัดสอบสวนข้อกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทย
                                             89
               จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กมาลงสมัครแข่งขัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ใช้ยุบพรรคไทยรักไทยในที่สุด คดีที่สอง
                                                                               90
               ในปี 2559 ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจ าคุก ก.ก.ต. คนละสองปีไม่รอลงอาญา  คดีเหล่านี้สั่นคลอนความชอบ
               ธรรมขององค์กรอิสระอย่างรุนแรง
                       ความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลให้เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองใน
               ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) สั่งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

               เฉพาะบางฉบับ คือ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ
               คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ชุดใหม่) มีผลบังคับใช้ต่อไป  เท่ากับส่งสัญญาณว่าพระราชบัญญัติประกอบ
                                                                91
               รัฐธรรมนูญที่เหลือสิ้นสุดลง ให้เป็นการยุบองค์กรนั้นๆ ได้แก่ ก.ส.ม. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ไปโดย
                                                                                92
               ปริยาย และแต่งตั้งคณะกรรมการ คตส. ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ป.ป.ช.  จะเห็นว่าภายหลังจากการ
               รัฐประหาร คดีความทุจริตที่ยังค้างคาอยู่ถึงได้ถูกสานต่อโดย คตส. และ ป.ป.ช. ชุดใหม่จนน าไปสู่การตัดสิน

                                      93
               เอาผิดทักษิณได้ในบางเรื่อง
                       ปี 2549 ยังเป็นปีเริ่มต้นของปรากฏการณ์ตุลาการภิวัฒน์ เมื่อตุลาการก้าวเข้ามาแทรกแซงการเมือง
                                                                                        94
               ผ่านค าพิพากษาซึ่งขยายการตีความกฎหมายกว้างขวางเกินบรรทัดฐานที่ผ่านมา  องค์กรอิสระตาม
               รัฐธรรมนูญเองถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อ านาจตุลาการเข้ามาตรวจสอบการเมือง
               (judicialization of politics) เมื่ออ านาจตุลาการขยายออกไป อ านาจขององค์กรอิสระก็เติบโตตามไปด้วย







               87  ชาญชัย แสวงศักดิ์, องค์กรอิสระ: ข้อพิจารณาทางกฎหมายมหาชน (วิญญูชน 2561) 160-161.
               88  ค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549.
               89  ‘ย้อนคดี : ก.ก.ต. ถูกจ าคุกเพราะไม่สุจริตและเที่ยงธรรม (ตอน1)’ (เวิร์คพอยท์ทูเดย์, 9 เมษายน 2565) <https://workpointtoday.com/ย้อนคดี-ก.ก.ต.-
               ถูกจ าคุก/> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565
               90  ‘ย้อนคดี : ก.ก.ต.ถูกจ าคุก-จ้างพรรคเล็กลงสมัคร-ยุบพรรคไทยรักไทย (ตอน2)’ (เวิร์คพอยท์ทูเดย์, 10 เมษายน 2565)
               <https://workpointtoday.com/ย้อนคดี-ก.ก.ต.-ถูกจ าคุก-จ้า/> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565
               91  ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบาง
               ฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป; ฉบับที่ 13; และ ฉบับที่ 19
               92  ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระท าที่ก่อให้เกิดความ
               เสียหายแก่รัฐ
               93  ฤกษ์ ศุภสิริ (เชิงอรรถ 81) 260-272, 333-344.
               94  ดู Khemthong Tonsakulrungruang, ‘Entrenching the Minority’ (เชิงอรรถ 13)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36