Page 30 - 23461_Fulltext
P. 30

21


               อาจถูกถอดถอนได้ยกเว้นด้วยเหตุตามกฎหมาย (8) ผู้ด ารงต าแหน่งในองค์กรอิสระยังมีความรับผิดทางอาญา
                                                    78
               และอาจถูกถอดถอนได้ด้วยเหตุตามกฎหมาย
                       ในระยะแรก องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแสดงผลงานเป็นที่น่าพอใจ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
               สามารถจัดการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับว่าสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรมพอสมควร แม้จะไม่ถึงขั้นที่ขจัดการ
                                                       79
               ทุจริตออกจากการเมืองไทยได้อย่างสิ้นเชิงก็ตาม  มีผู้สมัครที่ถูกจับได้ว่าทุจริต หรือส่อทุจริตลงโทษไปจ านวน
               หนึ่ง ในขณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีผลงานไต่สวนคดีทุจริตของ

               ข้าราชการระดับสูง รวมทั้งคดียื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองอย่างพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
                                                                                                        80
               และการจ าคุกบุคคลระดับรัฐมนตรี คือ นายรักเกียรติ สุขธนะจากคดีรับสินบนด้วยการชี้มูลร่ ารวยผิดปกติโดย
                      81
               ป.ป.ช.  ซึ่งถือว่าไม่เคยมีมาก่อน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติก็สร้างชื่อเสียงในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จนเป็นที่รู้จักในระยะเวลาไม่นานนัก

                       แต่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญถูกทดสอบอย่างรุนแรงภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกกล่าวหาว่า
               แทรกแซงการสรรหาผู้ด ารงต าแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็นได้ว่า ในตลอดช่วงรัฐบาล
               ทักษิณทั้งสองสมัยนั้น รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตจ านวนมาก เช่น กรณีกล้ายาง ขายยางพารา
               ล าไยอบแห้ง โครงการเอื้ออาทรต่างๆ จนถึงคดีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ  ในการเลือกตั้งทั้งสองครั้ง คือ ปี
                                                                            82
                                                                              83
               2543 และ 2548 พรรคไทยรักไทยถูกกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียงอย่างโจ่งแจ้ง  แต่ทั้ง ก.ก.ต. และ ป.ป.ช. ต่าง
               ถูกวิจารณ์ว่าไม่ยอมตรวจสอบข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตเหล่านี้
                       ในด้านอื่น รัฐบาลทักษิณถูกวิจารณ์เรื่องการลุแก่อ านาจ เช่น กรณีสงครามต่อต้านยาเสพติด และ
                                                                                                        84
               กรณีปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตและบาดเจ็บจ านวนมาก
               แต่หน่วยงานอย่างผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกลับมีบทบาทน้อย
               มากในการประนาม หยุดยั้ง หรือน าเจ้าหน้าที่ผู้กระท าผิดมารับโทษ แน่นอน ส่วนหนึ่งของความล้มเหลวนั้นไม
               ใช่ความผิดขององค์กรอิสระโดยสิ้นเชิง แต่โครงสร้างกฎหมายเองจ ากัดขอบเขตการท างานขององค์กรอิสระไว้
               เพียงแค่นั้น

                       ข้อวิจารณ์หลักคือ ทักษิณสามารถแทรกแซงกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระได้ผ่านการแทรกแซง
               วุฒิสภา  นอกจากนี้แล้วยังมีข้อวิจารณ์ด้วยว่าองค์กรอิสระเหล่านี้ขาดอ านาจตามกฎหมายเพียงพอที่จะ
                      85
               แทรกแซงการกระท าของรัฐบาล
                                          86





               78  ดู ดิสทัต โหตระกิตย์, ‘องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในระบบกฎหมายไทย’ ใน ณรงค์เดช สรุโฆษิต (บรรณาธิการ) แทนดอกไม้ไหว้ครู รวมบทความทางวิชาการ
               ด้านกฎหมายเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดปีที่ 60 ของศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม (ส.เจริญ การพิมพ์ 2554) 43-49.
               79  Andrew Harding and Peter Leyland, The Constitutional System of Thailand: A Contextual Analysis (Oxford: Hart 2010) 63-65.
               80  ดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เล่ม 29 การตรวจสอบทรัพย์สินและการกระท าที่เป็นการขัดกันแห่ง
               ผลประโยชน์ (สถาบันพระปกเกล้า 2552).
               81  ฤกษ์ ศุภสิริ, ประวัติย่อการเมืองไทยในรอบทศวรรษ จากทักษิโณมิกส์ถึงพฤษภาจลาจล (โพสต์บุ๊กส์ 2553) 73-75.
               82  ดู รายละเอียดใน ฤกษ์ ศุภสิริ (เชิงอรรถ 81)
               83  Harding & Leyland, The Constitutional System of Thailand: A Contextual Analysis (Oxford: Hart, 2011) 64-66.
               84  Human Rights Watch, Not Enough Graves: The War on Drugs, HIV/AIDS, and Violations of Human Rights (USA: Human Rights Watch,
               2004) 6-26; Kasian Tejapira, ‘Toppling Thaksin’ (2006) 39 (5) New Left Review 5, 29-31; Andrew Harding and Peter Leyland,
               Constitutional System of Thailand (Oxford 2011) 229-232.
               85  ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์, ‘องค์กรตามรัฐธรรมนูญ: โฉมใหม่ที่รอการพิสูจน์’ ใน วุฒิสาร ตันไชย (บรรณาธิการ) พิศรัฐธรรมนูญ (ส านักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา
               สถาบันพระปกเกล้า 2551) 156-157; Kasian Tejapira (เชิงอรรถ 84) 28-29.
               86  สมคิด เลิศไพฑูรย์, ‘ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศ กราช 2550’ ใน วุฒิสาร ตันไชย (บรรณาธิการ) พิศ
               รัฐธรรมนูญ (ส านักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า 2551) 21
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35