Page 39 - 23461_Fulltext
P. 39

30


                       อ านาจหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 จะสอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้นบางส่วน คือ เพิ่ม
               บทบาทของศาลเพื่อทบทวนวินิจฉัยค าชี้ขาดการตัดสิทธิเลือกตั้ง และคงงานประชาสัมพันธ์ไว้ แต่ ก.ก.ต. ยังมี

               หน้าที่จัดการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ก ากับดูแล


                       3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน

                       ผู้ตรวจการแผ่นดิน (Ombudsman) มีด้วยกันสามคน ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ ผู้ซึ่งได้รับการสรรหา
               ต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการ
               บริหารราชการแผ่นดินไม่ต่ ากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เทียบ

               ได้ไม่ต่ ากว่ากรมตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศก าหนด โดยต้องด ารงต าแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อย
               กว่าห้าปี จ านวนสองคน และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการด าเนินกิจการอันเป็นสาธารณะมาแล้วไม่น้อยกว่า
                                 126
               ยี่สิบปี จ านวนหนึ่งคน
                       ผู้ตรวจการแผ่นดินมีเขตอ านาจกว้างขวาง และมีวิธีการร้องเรียนที่ยืดหยุ่นมาก บุคคล คณะบุคคล

               หรือชุมชนก็ร้องเรียนได้ โดยร้องเรียนทั้งหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น โดยไม่มี
               ค่าใช้จ่าย ถึงแม้ไม่มีข้อร้องเรียน ผู้ตรวจการก็อาจจะเข้าไปตรวจสอบได้หากเห็นว่ามีผลกระทบต่อประชาชน
                                                        127
               โดยส่วนรวม หรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
                       อย่างไรก็ดี ความยืดหยุ่นนี้ก็เป็นจุดอ่อนเนื่องจากอ านาจของผู้ตรวจการแผ่นดินทับซ้อนกับหน่วยงาน
               อื่นได้ง่าย ดังข้อวิจารณ์ในบทแรก
                                                                                   128
                       ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอ านาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
                              -  เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
                                 ระเบียบ หรือค าสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน

                                 หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จ าเป็นหรือเกิน
                                 สมควรแก่เหตุ
                              -  แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอัน

                                 เนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอ านาจตาม
                                 กฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐ
                                 ที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น
                              -  เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน

                                 ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
                       ดังนั้น อ านาจของผู้ตรวจการแผ่นดินจะกว้างขวางกว่า ก.ก.ต.เพราะอาจเข้าไปตรวจสอบ ทั้งกรณีการ
               ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เกิดความเสียหายก็ได้ หรือความไม่เป็นธรรม ความเดือดร้อนใดๆ ก็ได้เช่นกัน โดย
               กฎหมายบัญญัติว่า ก่อนผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีข้อเสนอแนะใดๆ ต่อหน่วยงานของรัฐผู้ถูกตรวจสอบ ต้องร่วม

               หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันเสียก่อน
                                                                      129




               126  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 228.
               127  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 32.
               128  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 230.
               129  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 32 วรรคสอง.
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44