Page 42 - 23461_Fulltext
P. 42
33
ส าหรับงานไต่สวนนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอ านาจไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าพนักงานของรัฐในทุก
ระดับต าแหน่ง ในเรื่องที่มิใช่ความผิดร้ายแรง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตั้งแต่ผู้อ านวยการระดับสูงลงมา
สามารถมอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวนไปด าเนินการแทนได้
เฉพาะส าหรับ ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญได้ออกแบบกลไกความรับผิดไว้โดยเฉพาะ นั่นคือ สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจ านวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจ านวนสมาชิกทั้งหมด
เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหา
ว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ ารวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจง
ใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อ านาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมด้วยหลักฐานตามสมควร หากประธาน
รัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระท าตามที่ถูกกล่าวหา ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธาน
ศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่
ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าเกิดมีมูลตามที่ถูกกล่าวหา จะถูกฟ้องไปยังศาลฎีกา หรือส่งส านวนไป
อัยการสูงสุดเพื่อด าเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง
140
5. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน () ประกอบด้วยกรรมการจ านวนเจ็ดคน จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดย
คณะกรรมการสรรหา ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีความรู้ ความ
เชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมาย การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงิน
การคลัง และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
141
ต้องท างานร่วมกับผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ก าหนดวาง
นโยบาย และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นฝ่ายน านโยบายไปปฏิบัติ โดยให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีความ
142
เป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยรับผิดชอบต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรม เป็นกลาง และปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลพินิจ
143
อ านาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น กว้างขวางกว่าการท าผิดกฎหมาย กล่าวคือ การตรวจเงิน
แผ่นดินตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่ ก าหนด
และตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และตรวจผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงิน
144
ของหน่วยงานของรัฐด้วย ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพนี้เกี่ยวข้องการกรอบคิดเรื่องวินัยการเงินการคลังของ
รัฐตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 น าเข้ามาบรรจุไว้ ว่าหน้าที่นโยบายของรัฐนั้น รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง
อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วย
145
วินัยการเงินการคลังของรัฐ และจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม
140 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 236-237.
141 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 238.
142 ส าหรับการจัดการภายในส านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ความซ้ าซ้อนระหว่างคณะกรรมการและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โปรดดู พลอยแก้ว แสงรุ่ง, ‘หน้าที่
และอ านาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561’ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562).
143 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 242.
144 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 242.
145 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 62.