Page 46 - 23461_Fulltext
P. 46
37
บทที่ 6 บทบาทและต าแหน่งแห่งที่ขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจ
แม้ว่าองค์กรอิสระจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ในด้านความเป็นมืออาชีพ ความเป็นกลาง
และประสิทธิภาพ ไม่สูงนักก็ดี แต่อ านาจอธิปไตยที่สี่ได้ถูกสถาปนาขึ้นแล้วในระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย
และไม่น่าจะถูกถอดหรือลบหายไปได้โดยง่าย ดังนั้น ค าถามที่ว่า ประเทศไทยต้องการอ านาจอธิปไตยที่สี่
หรือไม่ จึงเป็นอันพ้นไป เหลือเพียงค าถามที่ว่า ประเทศไทยจะออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจ
อย่างไรดีที่สุดส าหรับบริบทของไทยเอง
การมีอยู่ขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้นเป็นผลดีต่อประชาธิปไตยไทยโดยไม่ต้อง
สงสัย เมื่อครั้งตอนรัฐธรรมนูญ 2540 ริเริ่มให้มีองค์กรอิสระ ประเทศไทยอยู่ในภาวะเพิ่งผ่านพ้นระบอบ
ประชาธิปไตยครึ่งใบมาได้ไม่นาน ผ่านการนองเลือดในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยไทยเปราะบาง
และปวงชนมุ่งหวังระบอบการเมืองใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่าเดิม สอดคล้องกับข้อสังเกตของ John
Ackerman ในตอนต้นที่ว่า องค์กรอิสระมักถูกสถาปนาขึ้นในระบบกฎหมายที่สังคมเพิ่งเปลี่ยนผ่านมาสู่
ประชาธิปไตย ตรงนี้ ประสบการณ์ของไทยคล้ายคลึงกับแอฟริกาใต้ ซึ่งบรรยายความไม่น่าเชื่อถือของรัฐบาล
ชุด Apartheid ไว้ชัดเจน
ยิ่งไปกว่านั้น อ านาจอธิปไตยที่สี่ หรือองค์กรตรวจสอบที่อยู่นอกอ านาจอธิปไตยทั้งสามแบบดั้งเดิมนั้น
นับว่าน่าจะกลายเป็นมาตรฐานสากล ดังจะเห็นว่าประเทศประชาธิปไตยใหม่ทั้งหลายล้วนรับเอาแนวคิดที่ว่า
ผู้ตรวจสอบจะอยู่ใต้ผู้ถูกตรวจสอบมิได้ มาเป็นฐานออกแบบรัฐธรรมนูญ ซึ่งน าไปสู่องค์กรตรวจสอบบาง
รูปแบบ ที่อยู่นอกฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติค่อนข้างเด็ดขาด
ในมาตรา 3 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และ
หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์
ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม การระบุองค์กรอิสระแยกออกมาจาก
องคาพยพอื่น ย้ าเตือนว่า ในทางรัฐธรรมนูญ องค์กรเหล่านี้มีที่ทางของตนเองแล้ว ไม่ได้สังกัดอ านาจอื่นใด
ในเชิงการออกแบบองค์กร ประเทศไทยพัฒนาจากรูปแบบคล้ายกับละตินอเมริกา คือ ใส่องค์กรอิสระ
ไว้กระจัดกระจายกันไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน ในรัฐธรรมนูญ 2540 มาสู่รัฐธรรมนูญที่มีหมวดว่าด้วยองค์กรอิสระ
โดยเฉพาะ ซึ่งท าให้ง่ายต่อการท าความเข้าใจ และเกิดมาตรฐานบางอย่างขึ้นเกี่ยวกับการเข้าและพ้นจาก
ต าแหน่ง ปัจจุบัน การออกแบบองค์กรอิสะของไทยจึงคล้ายกับหมวด 9 ของประเทศแอฟริกาใต้ แต่ไม่ได้ไปถึง
ขนาดไต้หวัน ซึ่งรวมทุกอย่างไว้ในองค์กรเดียว แต่แบ่งย่อยเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งการออกแบบองค์กร
แบบไต้หวันอาจจะดีตรงที่ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้ที่จุดเดียวโดยไม่ต้องค านึงอีกว่า เรื่องทุกข์ดังกล่าวอยู่
ใต้เขตอ านาจขององค์กรใด แต่ขนาดองค์กรที่ใหญ่มากเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารภายในของฝ่าย
ตรวจสอบเอง การแยกองค์กรต่างๆ ออกมาน่าจะท าให้การบริหารจัดการ เช่น การสรรหากรรมการแต่ละชุด
สอดคล้องกับงาน เช่น การตรวจสอบการเงิน การตรวจสอบทุจริต การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน ได้ดีกว่า
ไม่ใช่แบบเดียวส าหรับทุกงาน (one-size-fit-all)