Page 48 - 23461_Fulltext
P. 48
39
ป.ป.ช. ท างานใกล้ชิดกับองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทาง
การเมือง และศาลฎีกา ก.ก.ต. เองท างานกับศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง และศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยผลการ
เลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้
นอกจากนี้ องค์กรอิสระยังใกล้ชิดกันเองด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ าซ้อน มีบทตัดอ านาจซึ่งกันและกัน
และตัดอ านาจที่จะก้าวก่ายเรื่องคดีความในศาลด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจส่งเรื่องไปยัง ก.ส.ม. ในกรณีการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน และผู้ตรวจการแผ่นดินยังอาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้อีกด้วย
กรณีที่ความเสียหายด้านการเงินนั้นร้ายแรง ส.ต.ง. ส่งเรื่องไปยัง ก.ก.ต. และ ป.ป.ช. พิจารณาก่อนจะส่งเรื่อง
ไปให้คณะรัฐมนตรีและฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาต่อ
การแยกตัวออกจากฝ่ายการเมืองนั้นเป็นคุณสมบัติส าคัญขององค์กรอิสระ ซึ่งตามชื่อและธรรมชาติ
ของตัวเอง ย่อมต้องรักษาระยะห่างจากฝ่ายการเมือง อย่างไรก็ดี การรักษาระยะห่างจากการเมืองนั้นไม่
เหมือนกับการไม่ใส่ใจ ในกรณีของไต้หวัน สภาตรวจสอบไม่อาจส่งเรื่องการถอดถอนประธานาธิบดีและรอง
ประธานาธิบดีไปยังศาลวินัยได้ แต่ต้องเสนอสภานิติบัญญัติ ในขณะที่รัฐธรรมนูญไทยไม่ได้แยกความต่าง
ระหว่างผู้ด ารงต าแหน่งราชการประจ าระดับสูงออกจากผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ทั้งที่ความชอบธรรมหรือ
ที่มาของคนสองกลุ่มนี้ต่างกันมาก ซึ่งท าให้การความตึงเครียดระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายตรวจสอบได้ง่าย
การรักษาความสัมพันธ์กับฝ่ายการเมืองนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการเมืองในความเป็นจริงของ
ประเทศนั้นๆ ด้วย ในไต้หวัน ประชาธิปไตยแข็งแรง (vibrant democracy) พรรคการเมืองสองพรรคผลัดกุม
อ านาจ ไม่มีผู้ผูกขาดอ านาจยาวนาน ฝ่ายการเมืองจึงอ่อนตัวกว่า เอื้อให้ฝ่ายตรวจสอบท างานได้ ยิ่งไปกว่านั้น
การที่ฝ่ายตรวจสอบมีประวัติการท างานมายาวนานและอาจอ้างไปได้ถึงระบอบโบราณที่เป็นมา ล้วนช่วยหนุน
เสริมสถานะ ปัจจัยเหล่านี้ท าให้แรงกดดันทางการเมืองต่อองค์กรอิสระนั้นมีไม่มากเท่าแอฟริกาใต้
ในทางกลับกัน แอฟริกาใต้ตกอยู่ใต้การน าของพรรคการเมืองเดียวผูกขาดยาวนาน คือ ANC
ประชาธิปไตยในแอฟริกาใต้เปราะบาง ฝ่ายการเมืองจึงรู้สึกว่า การท างานขององค์กรในหมวดที่ 9 นั้นเป็นการ
วิจารณ์พรรค ANC โดยตรง จึงพยายามอ้างความนิยมของประชาชนเพื่อใช้กดดันองค์กรอิสระให้ลดการ
ตรวจสอบการใช้อ านาจของรัฐบาล ANC การแทรกแซงดังกล่าวท าให้การเผชิญหน้ากันระหว่างองค์กร
ตรวจสอบและฝ่ายการเมืองรุนแรงอย่างยิ่ง
ในประเทศไทย การเมืองเปราะบางไม่มีพรรคใดยึดครองอ านาจได้ยาวนานก็จริง แต่ประชาชนแบ่ง
ออกเป็นฝักฝ่าย แต่ละฝ่ายมีมุมมองต่อการท างานขององค์กรอิสระที่แตกต่างจากสุดขั้ว ขึ้นกับจุดยืนการเมือง
ท าให้การท างานขององค์กรอิสระ และความสัมพันธ์กับฝ่ายการเมือง เป็นเรื่องท้าทายยิ่ง
การเมืองที่เปราะบาง ในอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นเหตุผลในการด ารงอยู่ขององค์กรอิสระ หากการเมืองใน
ระบอบรัฐสภามีความเข้มแข็ง นักการเมืองไม่อยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
คณะกรรมาธิการของรัฐสภาเองปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ เหตุผลในการพึ่งพิงองค์กรอิสระก็จะน้อยลงไป
ช่วยลดข้อกล่าวหาและการเผชิญหน้ากันระหว่างอ านาจต่างๆได้ แต่สภาพนี้ยังไม่เกิดขึ้น