Page 49 - 23461_Fulltext
P. 49

40


                       2. ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยข้างต้น เหมาะสมกับระบบการ

                       เมืองไทยหรือไม่

                       ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจของไทยนั้นละเอียดถี่ถ้วนรัดกุมอย่างยิ่ง ตรวจสอบทั้งการกระท าผิด
               จริยธรรม ไปจนถึงอาชญากรรม โดยผลลัพธ์ร้ายแรงลดหลั่นกันไป ในไต้หวัน สภาตรวจสอบ ท าหน้าที่เป็นทั้ง
               ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. ก.ส.ม. และ ส.ต.ง. ในองค์กรเดียวกันแต่ไม่มี ก.ก.ต. ส่วนในแอฟริกาใต้ มีทั้ง

               ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่ใน Public Prosecutor และยังมี ส.ต.ง. ก.ก.ต. และ ก.ส.ม. อีกด้วย ซึ่ง
               ใกล้เคียงกับของไทยมาก แต่ของไทยแบ่งเป็นห้าองค์กรชัดเจน
                       ระบบอันซับซ้อนและรัดกุมนี้ มากเกินไปหรือไม่
                       การตรวจสอบทุจริตโดยเข้มแข็งยังเป็นของจ าเป็นส าหรับการเมืองไทยแน่นอน การทุจริตประพฤติมิ

               ชอบเป็นไปอย่างกว้างขวาง สังเกตจากการจัดอันดับดัชนีการทุจริตทั่วโลก แต่จะก าจัดทุจริตอย่างไรให้ไม่
               กระทบเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตั้งใจท างาน
                       ปัญหาขององค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญไทย แบ่งเป็นสองระดับ ระดับแรกคือ มุ่งเป้าไปยังผลงาน ว่าไม่
               มีประสิทธิภาพ เรื่องความซ้ าซ้อนระหว่างหน่วยงาน เรื่องความยิบย่อยของอ านาจที่มี การท างานหลายหน้าที่

               ซึ่งไม่ได้ผลดีทั้งหมด แต่ระดับสองที่ คือ ความชอบธรรมของการเข้าไปตรวจสอบฝ่ายการเมืองและราชการ ซึ่ง
               เห็นว่า ขาดความยึดโยงกับประชาชน เมื่อขาดความยึดโยงก็ใช้อ านาจโดยไม่เป็นกลาง ปัญหาสองประการนี้
               เกี่ยวข้องกันด้วย มิได้แยกออกจากกัน หากองค์กรอิสระเลือกปฏิบัติในการใช้อ านาจก็จะปรากฏภาพลักษณ์ว่า

               องค์กรอิสระล้มเหลวในการตรวจสอบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
                       ค าวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นว่า การตรวจสอบทุจริตอย่างจริงจังมากเกินไปท าให้ระบบราชการแข็งกระด้าง
               ตายตัว ขาดความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งไปกว่านั้น ท าให้องค์กรอิสระกลายเป็นอาวุธในการต่อสู้ทางการเมือง
               มากกว่าจะตรวจสอบการกระท าผิด ซึ่งส่งผลร้ายต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระเอง ดังนั้น อาจจะ
               จ าเป็นต้องหาสมดุลใหม่ ถ้าดูจากค าวิจารณ์องค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550 จะเห็น

               ว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ได้รับฟังค าวิจารณ์เหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องความซ้ าซ้อนของอ านาจหน้าที่แล้ว แต่
               ในเรื่องสมดุลระหว่างการบริหาราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพกับการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้น ยังไม่ได้
               รับการขบคิดเท่าที่ควร

                       การแก้ปัญหาองค์กรอิสระนั้น ต้องพยายามจ าแนกอ านาจขององค์กรเหล่านี้ก่อน ว่าท าอะไรบ้าง
                       ในแง่ความจ าเพาะเจาะจงของหน้าที่ ในบรรดาองค์กรอิสระทั้งห้านั้น ก.ก.ต. ป.ป.ช. ส.ต.ง. และ ก.
               ส.ม. ล้วนเป็นหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะทาง คือ การเลือกตั้ง การทุจริต การคลังการเงินแผ่นดิน และสิทธิ
               มนุษยชนตามล าดับ องค์กรเดียวที่มีอ านาจกว้างขวางแต่ซ้ าซ้อน คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

                       องค์กรอิสระทั้งห้าองค์กรล้วนรับผิดชอบเรื่องความรับผิด แต่ความรับผิดแบ่งเป็นสองประการ คือ
               ความรับผิดทางกฎหมาย และความรับผิดทางการเมือง ทุกองค์กรล้วนตรวจสอบความรับผิดทางกฎหมาย แต่
               ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ก.ส.ม. นั้น ตรวจสอบความรับผิดทางการเมืองด้วย คือ ความเหมาะสม หรือการ
               กระท าที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งกว้างขวางกว่ากรอบกฎหมาย ในขณะที่ ก.ก.ต. ป.ป.ช. และ ส.ต.ง. นั้นมี

               กรอบการท างานตามกฎหมายชัดเจนกว่า
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54