Page 44 - 23461_Fulltext
P. 44
35
151
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้ คือ
- ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดย
ไม่ล่าช้า และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- จัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา
และคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
- เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ
ระเบียบ หรือค าสั่งใดๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
- ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
- สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน
- หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
โดยในการปฏิบัติหน้าที่ รัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องค านึงถึงความผาสุก
ของประชาชนชาวไทยและผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นส าคัญ
อ านาจของ ก.ส.ม. จึงมีทั้งการไต่สวนกรณีละเมิดกฎหมาย และกว้างขวางไปกว่านั้น คือ ละเมิด
รัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนสากล นอกจากนี้ ยังมีงานเชิงรุก คือ ชี้แจงข้อเท็จจริงหากรัฐบาลไทยถูกกล่าวหา
เรื่องสิทธิมนุษยชนโดยไม่ถูกต้อง และการส่งเสริมการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน
เมื่อ ก.ส.ม. ไต่สวนแล้ว อาจแจ้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขการ
ละเมิดภายในเวลาที่ก าหนด ไม่เช่นนั้นแล้วให้ ก.ส.ม. รายงานต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจเป็นโทษทางวินัย หรือ
152
ความรับผิดทางอาญาในภายหลัง แม้จะไม่ชัดเจนเท่ากรณีข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินก็ดี
ข้อสังเกตคือ อ านาจของ ก.ส.ม. ที่จะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเพื่อให้มีการ
ตรวจสอบทบทวนอันเป็นนามธรรม (abstract review) นั้นถูกถอดออกจากรัฐธรรมนูญ 2560 แล้ว ก.ส.ม. มี
แต่อ านาจฟ้องศาลอาญาหากพบว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นความผิดอาญา และผู้เสียหายไม่อาจฟ้อง
153
คดีเองได้ ให้คณะกรรมการเป็นผู้เสียหายแทน
ในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นจ าเป็นต้องด าเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไป
จะเป็นภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของบุคคลหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการแต่ละคนของ ก.
ส.ม. อาจสั่งการไปเองได้ให้หน่วยงานของรัฐช่วยเหลือเยียวยาเลยก่อนจะกลับไปแจ้งให้ ก.ส.ม. ทราบ หากเป็น
กรณีจ าเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กรรมการมีอ านาจสั่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจที่อยู่ในบริเวณ
154
ใกล้เคียงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือตามที่เห็นสมควร
151 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247.
152 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 36.
153 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 37.
154 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 38.