Page 41 - 23461_Fulltext
P. 41
32
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงท าหน้าที่เสมือนข้อต่อ ที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยที่ตนเองไม่ได้
มีอ านาจสั่งการแต่อย่างใด แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามค าสั่งบางประการอาจน าไปสู่การลงโทษได้
4. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระที่มี
อ านาจมากที่สุด โดยมีกรรมการเก้าคน ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มี
ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริหารราชการแผ่นดิน หรือ
การอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และมีประสบการณ์ท างานในด้านงาน
137
ยุติธรรม วิชาการ หรือบริหารราชการแผ่นดินตามที่รัฐธรรมนูญก าหนดไว้
ในด้านอ านาจหน้าที่ ป.ป.ช. มีอ านาจหน้าที่หลักๆ ดังนี้
138
- ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญ ผู้ด ารงต าแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ใดมี
พฤติการณ์ร่ ารวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อ านาจขัดต่อ
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง
จริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อด าเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญ หรือตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ ารวยผิดปกติ กระท าความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
หรือกระท าความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ในการ
ยุติธรรมเพื่อด าเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต
- ก าหนดให้ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ด ารงต าแหน่งใน
องค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและ
หนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยผล
การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- โดยที่ ป.ป.ช. จะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะท าให้การปฏิบัติหน้าที่มี
ประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม
ป.ป.ช. นั้นมุ่งเน้นความรับผิดทางกฎหมายอาญาโดยเฉพาะ เมื่อเป็นความรับผิดทางกฎหมายอาญา
ป.ป.ช. ไม่อาจวินิจฉัยสั่งการเองได้ จ าต้องให้อ านาจตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการ ซึ่งหาก ป.ป.ช. มีมติว่า ผู้
ด ารงต าแหน่งทางการเมืองมีพฤติการณ์ร่ ารวยผิดปกติแล้ว ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง
จริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ส่วนกรณีอื่นให้ส่งส านวนการไต่สวนไปยังอัยการ
สูงสุดเพื่อด าเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง หรือด าเนินการอื่น
139
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
137 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 232.
138 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234.
139 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 235.