Page 47 - 23461_Fulltext
P. 47

38


                       ต่อไปจะเป็นการตอบค าถามวิจัยทั้งสองข้อ

                       1. ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบัน เป็นอย่างไร องค์กรต่างๆ
                       สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับองค์กรการเมืองอื่นๆ อย่างไรบ้าง

                       ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบันแยกออกมาเป็นอิสระจากอ านาจ

               อื่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ โดยในทางทฤษฎีอาจจัดให้อยู่อ านาจอธิปไตยที่สี่ คือ
               อ านาจตรวจสอบ ปัจจุบัน อ านาจตรวจสอบแบ่งสรรให้แก่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจ านวนห้าองค์กร คือ
               ก.ก.ต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. ส.ต.ง. และ ก.ส.ม.
                       ก.ก.ต. รับผิดชอบด้านการเลือกตั้งและพรรคการเมือง โดยมีหน้าที่หลักคือ จัดการเลือกตั้งให้สุจริต

               เที่ยงธรรม
                       ผู้ตรวจการแผ่นดิน รับผิดชอบไต่สวนความไม่เป็นธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะด้านกฎหมาย หรืออื่นๆ
                       ป.ป.ช. ตรวจสอบการทุจริต ซึ่งเป็นความผิดอาญา
                       ส.ต.ง. ตรวจสอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งอาจเป็นทั้งความรับผิดทางวินัย ทางปกครอง หรือทางอาญา

               ก็ได้
                       ก.ส.ม. ไต่สวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรอบในการท างานกว้างขวางกว่าแค่รัฐธรรมนูญหรือ
               กฎหมายภายในประเทศ โดยอาจเป็นทั้งความรับผิดทางกฎหมาย หรือความรับผิดทางการเมืองด้วยก็ได้

                       รวมกันทั้งหมด ก่อตัวเป็นระบบความรับผิด ซึ่งโยงใยซับซ้อน
                       แล้วองค์กรเหล่านี้สัมพันธ์กับองค์กรผู้ใช้อ านาจอธิปไตยอื่นอย่างไร
                       องค์กรอิสระใกล้ชิดอย่างยิ่งกับองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระด้วยกันเอง
                       ในการแต่งตั้ง ฝ่ายการเมืองมีบทบาทน้อยมาก มีเพียงตัวแทนของฝ่ายนิติบัญญัติสองคนเข้าไปเป็น
               กรรมการสรรหา ในขณะที่กรรมการที่เหลือมาจากฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระด้วยกันเอง ยิ่งไปกว่านั้น ด้วย

               คุณสมบัติที่ก าหนด ไม่ว่าจะเรื่องความช านาญ ภูมิหลังวิชาชีพ ท าให้ฝ่ายตุลาการมีอิทธิพลสูงต่อการสรรหา
               คณะกรรมการองค์กรอิสระ ในบางกรณี อย่าง ก.ก.ต. ให้ศาลฎีกาแต่งตั้งกรรมการได้สองคน นอกเหนือไปจาก
               ที่คณะกรรมการสรรหาเสนอห้าคนแล้วด้วย

                       ฝ่ายบริหารไม่มีบทบาทในการสรรหาเลย แม้แต่ฝ่ายนิติบัญญัติเองก็มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับไต้หวัน
               และแอฟริกาใต้ จะพบว่ามีปัญหาเรื่องความยึดโยงกับประชาชนน้อยกว่าไทย ในไต้หวัน สภาตรวจสอบมาจาก
               การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยไม่ผ่านรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี จึงชัดเจนยิ่งว่า ได้รับฉันทามติ
               ประชาชนมาแน่ๆ ส่วนในแอฟริกาใต้ กระบวนการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติให้ประธานาธิบดีเห็นชอบก็เป็น

               การสร้างความยึดโยงกับประชาชนทางอ้อม ผ่านกระบวนการและกลไกรัฐสภา
                       แม้รัฐธรรมนูญไทยจะออกแบบให้กรรมการองค์กรอิสระจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา แต่
               การรับรองโดยวุฒิสภา ก็แตกต่างจากที่เดิมเคยเป็นมา เพราะวุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
               ประชาชนอีกต่อไป แต่เป็นระบบสรรหาแบบปิด

                       ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาความชอบธรรมขององค์กรอิสระต่อไป เพราะโดยพื้นฐานไม่มาจากประชาชน ท า
               ให้ข้อครหาเกี่ยวกับความไม่รู้ร้อนหนาว (unresponsiveness) ต่อค าวิจารณ์ของประชาชน และความ
               รับผิดชอบต่อการใช้อ านาจของตนเองนั้นไม่อาจแก้ต่างได้โดยง่าย
                       ความใกล้ชิดกับฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระด้วยกันเอง ยังรวมไปถึงการท างานด้วย เพราะโดย

               สภาพงานแล้วเป็นการตรวจสอบความรับผิดทางกฎหมายเป็นหลัก เมื่อองค์กรอิสระส่วนใหญ่ไม่มีอ านาจออก
               ค าสั่งได้เองจึงต้องร้องต่อตุลาการ หรืออาจถูกตุลาการตรวจสอบได้บ้าง
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52