Page 50 - 23461_Fulltext
P. 50
41
ในแต่ละองค์กร นอกจากงานด้านสอบสวนและวินิจฉัย ซึ่งเป็นการปราบปราม (investigative
function) แล้วยังมีงานด้านการปลูกฝังจิตส านึก โฆษณาประชาสัมพันธ์ค่านิยมด้วย
ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้น มีสามข้อ โดยเน้นไปที่สามด้าน คือ ที่มา
ของผู้ด ารงต าแหน่งในองค์กรเหล่านี้ อ านาจหน้าที่อันกว้างขวางขององค์กรเหล่านี้ และท้ายที่สุดคือ ถ้าเป็นไป
ได้ การปรับปรุงโครงสร้างการตรวจสอบทั้งหมด
ด้านที่มานั้น ยังจ าเป็นที่จะต้องยืนยันความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองอยู่ แม้ประเทศไทยจะยังไม่ตก
อยู่ในสภาวะพรรคการเมืองพรรคเดียวครอบง ารัฐสภา แต่ประชาธิปไตยก็เปราะบาง ไม่เข้มแข็ง ความเชื่อถือ
ในฝ่ายการเมืองต่ า หากฝ่ายการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งโดยตรงได้ ผลน่าจะคล้ายคลึงกับแอฟริกาใต้
คือ ฝ่ายการเมืองกดดันองค์กรอิสระให้สยบยอม
แน่นอนว่าข้อเสนอนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะการหาจุดสมดุลระหว่างความชอบธรรมจากประชาชน และ
จากความเป็นอิสระนั้น กระท าได้ยากอย่างยิ่ง เมื่อการสรรหาองค์กรอิสระหลุดพ้นไปจากระบบการเมือง
เลือกตั้ง ก็เป็นธรรมดาที่จะตกอยู่ใต้ข้อครหาของการวิ่งเต้นหรือคัดสรรผ่านการเจรจาต่อรองแบบลับ ไม่เป็น
ประชาธิปไตย
เมื่อการสรรหาไม่ควรยึดโยงกับการเมืองเลือกตั้งโดยตรง แต่ก็ควรระวังข้อครหาเกี่ยวกับการเล่นพรรค
เล่นพวก การสรรหาควรจะยึดโยงกับประชาชนและฝ่ายการเมืองโดยอ้อม ผ่านการยืนยันของฝ่ายนิติบัญญัติ
แต่แทนที่จะให้วุฒิสภาเป็นผู้เห็นชอบ ควรคิดใหม่เนื่องจากวุฒิสภาไทยนั้นเปลี่ยนแปลงจากวุฒิสภาเลือกตั้งใน
ปี 2540 มาไกลแล้ว จนกล่าวได้ว่าไม่มีประโยชน์ที่จะคงกลไกความเห็นชอบโดยวุฒิสภาไว้ เช่นนี้ อาจควรให้
สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เห็นชอบแทน แม้ผู้แทนราษฎรจะไม่มีบทบาทในการสรรหา โดยการสรรหาอยู่กับฝ่าย
องค์กรอิสระและตุลาการเอง แต่ก็ยังได้มีบทบาทในการเห็นชอบด้วย
นอกจากนี้ เพื่อขจัดข้อครหาเรื่องการเล่นพรรคพวก กระบวนการเห็นชอบ การถกเถียงอภิปรายใดๆ
ต้องโปร่งใสเปิดเผย จ าต้องบังคับว่าห้ามกระท าการเป็นความลับเด็ดขาด ความโปร่งใสเป็นทางแก้ที่ดีที่สุดเมื่อ
ถูกครหาเรื่องความไม่เป็นกลาง
ส าหรับอ านาจหน้าที่นั้น จะเห็นว่า อ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระโดยรวมทั้ง กว้างขวางมากเกินไป
ควรท าสองประการ คือ หนึ่ง ลดอ านาจตรวจสอบความรับผิดทางการเมือง ซึ่งคลุมเครือ และเป็นจุดถูก
วิพากษ์ได้ง่าย สอง ลดอ านาจด้านการปลูกฝังอุดมการณ์หรือประชาสัมพันธ์ค่านิยมลง เนื่องจากสิ้นเปลือง
ทรัพยากรการท างานโดยไม่มีผลงานจับต้องได้แน่ชัด
การลดอ านาจหน้าที่นั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปรับโครงสร้างการตรวจสอบการใช้อ านาจใหม่ ว่า
องค์กรใดยังควรด ารงอยู่ หรือควรจะไป องค์กรที่ใช้อ านาจที่เฉพาะเจาะจงนั้นควรด ารงอยู่ ในขณะที่องค์กรที่มี
อ านาจกว้างขวางคลุมเครือกว่าต้องถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมขึ้น
องค์กรที่มีอ านาจหน้าที่เฉพาะ เช่น ก.ก.ต. ป.ป.ช. ส.ต.ง. และ ก.ส.ม. นั้น ท างานตรวจสอบที่ใช้ความ
เชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่อาจยุบทิ้งไปได้ องค์กรเดียวที่มีอ านาจกว้างขวางแต่ซ้ าซ้อน คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งทั้ง
ในไต้หวัน และแอฟริกาใต้ เอาไปรวมไว้ในองค์กรอื่นที่มีหน้าที่เฉพาะทางกว่า ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. หรือ ก.ส.ม.
ซึ่งข้อสังเกต คือ หน้าที่ของทั้ง ก.ส.ม. และ ผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง ระหว่างความไม่เป็น
ธรรมกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น จึงอาจพิจารณาควบรวมให้เหลือองค์กรเดียวตรวจสอบด้านการ
ละเมิดสิทธิทั้งหมด แต่คงอ านาจส่งเรื่องฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองแบบผู้ตรวจการแผ่นดินไว้