Page 19 - 23461_Fulltext
P. 19
10
องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้นเป็นนวัตกรรมทางรัฐธรรมนูญที่ก าเนิดขึ้นมาภายหลัง
รูปแบบองค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองนั้น เริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในหลาย
ประเทศบัญญัติองค์กรอิสระเหล่านี้ไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระด้านการตรวจสอบที่เป็นที่นิยม ได้แก่
องค์กรปราบปรามการทุจริต องค์กรจัดการการเลือกตั้ง องค์กรด้านการร้องทุกข์ (ผู้ตรวจการแผ่นดิน
Ombudsman) องค์กรตรวจสอบด้านการเงินแผ่นดิน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และองค์กรด้านการ
สมานฉันท์ นอกจากนี้ยังอาจมีองค์กรอิสระด้านการตรวจสอบอื่นๆที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระดับรัฐธรรมนูญอีกด้วย
33
องค์กรอิสระเหล่านี้มีรูปแบบไม่แน่นอนนัก ค่อนข้างหลากหลาย
ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ดูเหมือนว่า องค์กรอิสระด้านการตรวจสอบในระดับรัฐธรรมนูญนั้น เป็น
ผลงานจากประเทศกลุ่ม Global South ซึ่งมีพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจน้อยกว่า Global North
ประเทศที่บัญญัติองค์กรอิสระด้านการตรวจสอบไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น มักมีลักษณะร่วมกันคือ เพิ่งเปลี่ยนผ่าน
เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือเกิดเหตุการณ์การเมืองที่ส าคัญเกิดขึ้นในประเทศ ต้องการการปฏิรูปประเทศ
ครั้งใหญ่ และองค์กรอิสระเหล่านี้ถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่จะช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตยของ
34
ประเทศได้
การเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเหล่านี้ คือ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่ากลไกการตรวจสอบความรับผิดที่มีแต่
เดิม ไม่ว่าจะเป็นกลไกตรวจสอบถ่วงดุลทางรัฐสภา (parliamentary oversight) หรือกลไกการตรวจสอบผ่าน
อ านาจตุลาการ (judicial review) ล้วนมีข้อบกพร่อง กลไกทางการเมืองนั้นต้องอาศัยต้นทุนด้านวัฒนธรรม
ทางการเมืองที่เปิดกว้าง และยึดถือระบบคุณธรรมมากว่าการแบ่งฝักฝ่าย (merit over partisanship) ซึ่งใน
บางบริบท กลไกนี้อาจถูกละเลยจากพรรคการเมืองหรือมติมหาชนได้ ส่วนกลไกตุลาการนั้นก็จ าต้องมีผู้ช่วย
สอบสวนที่มีประสิทธิภาพและไม่อยู่ภายใต้อาณัติฝ่ายการเมือง ผู้ช่วยดังกล่าวเป็นส่วนผสมของความรู้ทาง
กฎหมายและความช านาญทางการเมือง
นอกจากนั้น หน่วยงานที่ท าหน้าที่ตรวจสอบการใช้อ านาจที่อยู่ภายใต้อ านาจบริหารเองนั้น ไม่อาจ
ท างานตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ เพราะตามตรรกะแล้ว ผู้มีอ านาจย่อมให้เต็มใจจะให้อ านาจนั้นใช้ตรวจสอบ
ตัวเอง สาเหตุเหล่านี้จึงเป็นเหตุให้เกิดองค์กรอิสระ ที่รัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระไว้ก าเนิดขึ้นมา
การก าเนิดขึ้นขององค์กรอิสระด้านการตรวจสอบ สอดคล้องกับพัฒนาการของรัฐธรรมนูญในคลื่น
ประชาธิปไตยลูกที่สาม ซึ่งพยายามพัฒนากลไกใหม่ๆ มาสร้างเสถียรภาพให้กับกลไกการเมือง (postpolitical
constitution) โดยตระหนักดีกว่าว่า กลไกการเมืองในประเทศของตนไม่อาจใช้เป็นหลักเพียงกลไกเดียวได้
เนื่องจากขาดต้นทุนทางวัฒนธรรมการเมือง จึงรับเอาแนวคิดองค์กรอิสระมาใช้ องค์กรอิสระจึงก าเนิดขึ้น
พร้อมกับปรากฏการณ์ที่ตุลาการถูกน าเข้ามาก ากับกระบวนการทางการเมือง (judicialization of politics)
35
ในฐานะองคาพยพหนึ่งที่ช่วยตรวจสอบรัฐบาล
ท้ายที่สุด มีผู้เสนอว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ หลุดพ้นออกจากโครงสร้างการแบ่งแยกอ านาจเป็นสาม
ส่วนแบบมงเตสกิเออร์แล้ว องค์กรอิสระเหล่านี้ คือ อ านาจอธิปไตยที่สี่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่
Bruce Ackerman เรียกองค์กรเหล่านี้ว่าเป็น integrity branch ตามชื่อคือ หน่วยงานภายนอกที่
ช่วยธ ารงความสง่างามของฝ่ายการเมืองไว้ ซึ่ง Ackerman เห็นว่าเป็นส่วนส าคัญของระบอบการเมืองที่
36
เรียกว่า constrained parliamentarianism
33 John Ackerman (เชิงอรรถ 8) 272-273.
34 John Ackerman (เชิงอรรถ 8) 271-272.
35 Ran Hirschl (เชิงอรรถ 6)
36 Bruce Ackerman, ‘The New Separation of Powers’ (2000) 113 Harvard Law Review 633.