Page 21 - 23461_Fulltext
P. 21

12


                       ข้อควรคิดคือ การตรวจสอบการใช้อ านาจนั้นก็เพื่อขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบ (corruption) แต่
               การพยายามก าจัดการทุจริตอย่างบ้าคลั่ง หรือสุดโต่งเกินไปนั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งพึงปรารถนา การทุจริตประพฤติ

               มิชอบนั้นอยู่ในพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยเก่าแก่ และเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง การตรวจสอบการ
                                                                                               40
               ใช้อ านาจจึงต้องกระท าอย่างรอบคอบ และยอมรับว่า การขจัดมันต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
                       การสร้างสมดุล ไม่สุดโต่งไปในทางใดทางหนึ่งส าคัญมาก เพราะการใช้อ านาจตรวจสอบ ก็เช่นเดียวกับ
               การใช้อ านาจอื่นๆ คือ แม้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ก็ต้องประสานสมดุลกับประโยชน์อื่นๆ ทั้งสิทธิ

               เสรีภาพของผู้ถูกตรวจสอบ และภาพรวมของประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
                                                                                     41
                       ข้อควรระวังเรื่องการออกแบบองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบนี้ อาจสามารถเทียบเคียงได้กับปัญหาที่
               เกิดขึ้นกับฝ่ายตุลาการ ในระยะหลัง งานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตุลาการกับการเมืองเตือนถึงปรากฏการณ์
               abusive judicial review  หรือ abusive judicial borrowing  เมื่อพบว่าตุลาการจ านวนมากอ้างว่าใช้
                                     42
                                                                     43
               อ านาจตุลาการเพื่อตรวจสอบฝ่ายการเมือง แต่แท้จริงกลับเป็นการส่งเสริมเผด็จการ ช่วยก าจัดคู่แข่งทางการ
               เมืองให้กับผู้น าเผด็จการอ านาจนิยม ปรากฏการณ์นี้ปรากฏมากในประเทศนอกเหนือจากยุโรปตะวันตกและ
               อเมริกาเหนือ บ่อยครั้ง ค าพิพากษาเหล่านี้หยิบยืมหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นสากลมาใช้แบบบิดผันเพื่อ
               จุดมุ่งหมายตรงกันข้าม หรือในบริบทที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย ผลลัพธ์ก็คือ การเรืองอ านาจขึ้นของ

               องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบเอง ซึ่งเข้าควบคุมกลไกการเมืองไว้ได้ ทั้งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงขาด
               ความชอบธรรมด้านที่มาที่ยึดโยงกับประชาชน ผลท้ายที่สุดคือ ความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งน าไปสู่วิกฤติ
                                                                                                   44
               ศรัทธาในตัวองค์กรอิสระเองด้วย ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับฝ่ายตุลาการของไทยในสถานการณ์ตุลาการภิวัฒน์  ผลที่
               ของตุลาการภิวัฒน์ คือ ค าวิจารณ์ว่าตุลาการสูญเสียความน่าเชื่อถือในการเป็นกรรมการ หรือคนกลางในการ
                                       45
               ตัดสินข้อพิพาทอีกต่อไปแล้ว
                       เพราะฉะนั้น โดยหลักการแล้ว การตรวจสอบการใช้อ านาจเป็นเรื่องดีโดยแท้ ไม่ต้องสงสัย แต่ในทาง
               ปฏิบัติ การออกแบบกลไกการตรวจสอบการใช้อ านาจโดยไม่ระมัดระวัง อาจน าไปสู่ผลลัพธ์ตรงข้ามได้ ในบท
               ต่อไป จะเป็นการส ารวจโครงสร้างการตรวจสอบอ านาจในระบบกฎหมายต่างประเทศ เพื่อน ามาเปรียบเทียบ

               กับโครงสร้างการตรวจสอบอ านาจของรัฐธรรมนูญไทยต่อไป




















               40  Cecile Wathne (เชิงอรรถ 11) 13.
               41  ดู Aharon Barak, Proportionality: Constitutional Rights and their Limitations (Cambridge Univesrity Press 2012).
               42  David Landau and Rosalind Dixon, ‘Abusive Judicial Review: Courts against Democracy’ (2020) 53 UC Davis Law Review 1313.
               43  David Landau and Rosalind Dixon, Abusive Constitutional Borrowing: Legal Globalization and the Subversion of Liberal Democracy
               (Oxford University Press 2021).
               44  ดู Duncan McCargo, ‘Competing Notions of Judicialization in Thailand’ (2014) 36 Contemporary Southeast Asia 417; Duncan McCargo,
               ‘Readings on Thai Justice: A Review Essay’ (2015) 39 Asian Studies Review 23.
               45  ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, ตลก รัฐธรรมนูญ (Shine Publishing House 2565).
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26