Page 16 - 23461_Fulltext
P. 16
7
ดังนั้น งานวิจัยนี้ จะเปรียบเทียบกับระบบการตรวจสอบในประเทศอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน ซึ่งงานวิจัย
นี้มุ่งจะเปรียบเทียบรูปแบบการตรวจสอบอ านาจในประเทศที่มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบในระดับ
รัฐธรรมนูญ คือ แอฟริกาใต้ และ ไต้หวัน แต่หลังจากนั้น จะต้องกลับมาส ารวจงานวิจัยของไทยเองเกี่ยวกับ
องค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
งานวิจัยนี้จ ากัดขอบเขตอยู่ที่ระบบตรวจสอบภายนอกฝ่ายปกครอง ในฝ่ายปกครองเองย่อมมีหน่วยงานที่
ท าหน้าที่ตรวจสอบกันเองเป็นการภายในอยู่แล้ว แต่งานชิ้นนี้เน้นที่การตรวจสอบจากองค์กรภายใน ซึ่งถูกระบุ
ไว้ในรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรอิสระ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ในแง่การรวบรวมข้อมูล งานวิจัยนี้มุ่งใช้ข้อมูลจากเอกสารหลากหลาย
ประเภทที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐธรรมนูญ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ บันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
บันทึกการประชุม บทความและหนังสือทางวิชาการ ตลอดจนบทความกึ่งวิชาการและข่าว นอกจากนี้ ยัง
เปรียบเทียบรูปแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐจากเขตอ านาจอื่นอีกด้วย
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
(1) สามารถวาดแผนภาพเชื่อมโยงระบบตรวจสอบการใช้อ านาจของไทยได้ ทั้งองค์กรอิสระ ตุลาการ และ
ความเชื่อมโยงกับสถาบันการเมืองอื่น
(2) สามารถวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของระบบตรวจสอบการใช้อ านาจในปัจจุบัน
(3) สามารถเสนอแนะการออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจใหม่เพื่อสร้างสมดุลระหว่าง
ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ