Page 12 - 23461_Fulltext
P. 12
3
ประเทศไทยภายใต้กระบวนการปฏิรูปการเมือง 2540 ได้สร้างองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้
อ านาจขึ้นมาไม่น้อย การปฏิรูประบบการตรวจสอบการใช้อ านาจถือเป็นจุดเด่นของรัฐธรรมนูญ 2540 ด้วย 10
องค์กรอิสระองค์กรอิสระทั้งหลายได้แก่ (1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) (2) คณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (4) ส านักงานตรวจเงินแผ่นดินและผู้ตรวจ
เงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) (5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก.ส.ม.) (6) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (7) ศาลรัฐธรรมนูญ (8) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง และ (9) ศาล
ปกครอง
ในภายหลัง ยังได้ขยายออกไปรวมถึงองค์กรอัยการสูงสุด และส านักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) อีกด้วย
การขยับขยายองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบในระบอบการเมืองไทยนั้น ขยายทั้งจ านวนองค์กร และ
เนื้อหาที่องค์กรเหล่านี้เข้าไปตรวจสอบ
โดยรวมแล้วรัฐธรรมนูญไทยออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจที่รัดกุมเข้มแข็ง ดังจะเห็นผู้
ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและข้าราชการทุกระดับชั้นจ านวนไม่น้อยที่ถูกกล่าวหาว่ากระท าความผิดต่อ
ต าแหน่งหน้าที่และถูกลงโทษไป
ในทางกลับกัน ระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง ซับซ้อน และเข้มงวดนั้นอาจจะส่งเสริมความสุจริตโปร่งใส
และนิติธรรมก็จริง แต่การตรวจสอบการใช้อ านาจนั้น ไม่ใช่สิ่งพึงปรารถนาเสมอไป
การปราบการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี แต่การพยายามขจัดการทุจริตให้หมดไปโดย
11
สิ้นเชิงนั้นเป็นไปไม่ได้และไม่ควรท า ในด้านกลับของการออกแบบระบบตรวจสอบการใช้อ านาจที่ซับซ้อน
เข้มแข็งเข้มงวด คือ กลไกดังกล่าวเป็นปฏิปักษ์ของการบริหารประเทศ ซึ่งจ าต้องยืดหยุ่นรับกับสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
ผลข้างเคียงของการตรวจสอบการใช้อ านาจที่มากเกินไปคือ การแช่แข็ง (ossification) ของระบบ
บริหารราชการแผ่นดิน เป็นปฏิปักษ์ต่อการใช้ดุลพินิจ ในที่สุด น ามาสู่ระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็น
ด้านตรงข้ามของระบบที่ไม่ถูกตรวจสอบเลยจนมีอิสรภาพมากเกินไปและแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดัง
ปรากฏในข่าวเสมอ ว่าหน่วยงานราชการถูกตรวจสอบแม้แต่ในเรื่องเล็กน้อย หรือเรื่องทางรูปแบบและถูก
ลงโทษโดยรุนแรงเกินจริง การตรวจสอบการใช้อ านาจที่เกินเลยขอบเขตยังอาจสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล
ได้อีกด้วย อาทิ การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลระหว่างปี 2563-2564 เกิดจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ทั้งที่ความผิด
ของพรรคนั้นเล็กน้อยไม่ได้สัดส่วน
นอกจากนี้ ผลกระทบของการตรวจสอบการใช้อ านาจที่เข้มงวดมากเกินไปอีกประการหนึ่ง คือ
ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงเอง ซึ่งตามหลักกฎหมาย
มหาชนที่ดี กฎหมายควรสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะ คือ นิติธรรม ความโปร่งใสสุจริต กับสิทธิ
เสรีภาพส่วนตัวของประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ในต าแหน่งใดก็ตาม
12
10 สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, ‘รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในอุ้งมือนักกฎหมายมหาชน’ ใน ธนาพล อิ๋วสกุล (บรรณาธิการ), การปฏิรูปการเมืองไทย ฐานคิดและ
ข้อเสนอว่าด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 2540 (ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2560) 727.
11 Susan Rose-Ackerman, Corruption and Government: Causes, Consequences, and Reform (Cambridge University Press 1999) 5; Cecile
Wathne, ‘Understanding corruption and how to curb it: A synthesis of latest thinking’ (U4 Anti-Corruption Resource Centre 2021).
12 ดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี (นิติธรรม 2538).