Page 17 - 23461_Fulltext
P. 17
8
บทที่ 2 แนวคิดเรื่ององค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้อ านาจ
บทนี้จะเป็นการส ารวจแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ แนวคิดว่าด้วยการ
ตรวจสอบการใช้อ านาจ การแบ่งแยกอ านาจอธิปไตยแบบใหม่ และการสร้างสมดุลระหว่างองค์กรอิสระและ
องคาพยพอื่นในการเมือง แนวคิดเหล่านี้ช่วยอธิบายว่า องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจคือใคร
และควรมีต าแหน่งแห่งที่ตรงไหนในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย
1. การตรวจสอบการใช้อ านาจ
ท าไมคนเราถึงเคารพกฎหมาย ค าอธิบายง่ายๆ คือ คนเราเคารพกฎหมายเพราะกฎหมายคือ ค าสั่ง
26
รัฏฐาธิปัตย์ หากขัดขืนจะถูกลงโทษ แต่ค าอธิบายแบบปฏิฐานนิยมเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะอธิบายความยินยอม
พร้อมใจที่คนเราจะท าตามกฎหมาย ความหวาดกลัวการลงโทษเป็นแค่เหตุผลหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด และอาจ
27
ไม่ใช่เหตุผลหลักด้วย ดูเหมือนว่า ในความเป็นจริงแล้ว คนเราเคารพกฎหมายเพราะเราเชื่อว่า การปฏิบัติ
ตามค าสั่งของผู้มีอ านาจนั้นเป็นเหตุผลที่ถูกต้องของการเป็นพลเมือง แต่ท าไมคนเราถึงเชื่อว่าการท าตาม
อ านาจนั้นเป็นสิ่งที่ดี
ค าตอบ คือ อ านาจที่ออกค าสั่งนั้นดูเหมือนว่าเป็นอ านาจที่ชอบธรรม ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ในสังคม
ยอมท าตามค าสั่งของผู้มีอ านาจโดยไม่ขัดขืน และดูเผินๆ แล้วก็เหมือนกับว่า การท าตามค าสั่งผู้มีอ านาจนั้น
เป็นไปโดยความยินยอมพร้อมใจและสันติ แต่ถึงที่สุด โดยเนื้อแท้ลงไปนั้น อ านาจคือการจ ากัดสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล อ านาจจึงต้องแสวงหาความชอบธรรมเพื่อให้ผู้อยู่ใต้อ านาจนั้นยอมรับการใช้อ านาจ หากประชาชน
เชื่อว่าอ านาจนั้นชอบธรรมแล้ว ประชาชนจะยอมรับและท าตามค าสั่งที่อ านาจนั้นออก อ านาจใดที่ชอบธรรม
ก็อาจโน้มน้าวให้บุคคลยินยอมปฏิบัติตามค าสั่งผู้มีอ านาจได้โดยสมัครใจ อ านาจใดที่ปราศจากความชอบธรรม
ก็ย่อมยากกว่าที่จะให้บุคคลท าตามค าสั่ง และอาจต้องพึ่งพิงความรุนแรงบังคับ ซึ่งอาจท าให้อ านาจนั้นล่ม
สลายลงได้เช่นกัน
สภาวะที่อ านาจไร้ความชอบธรรมจนถึงขีดสุดนั้น จะน าไปสู่สภาวะวิกฤติรัฐธรรมนูญ
(Constitutional crisis) เมื่อทุกคนในรัฐ ทั้งรัฐเอง และประชาชน เลิกยอมรับกติการัฐธรรมนูญ เมื่อนั้นย่อม
28
ถือว่ารัฐล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง และจุดหมายปลายทางความล้มเหลวนี้คือสงครามกลางเมือง
การสร้างความชอบธรรมแก่อ านาจจึงเป็นเรื่องจ าเป็นอย่างยิ่ง แต่อ านาจจะแสวงหาความชอบธรรมได้
จากที่ใด
โดยพื้นฐานที่สุด ผู้มีอ านาจอาจอ้างความชอบธรรมจากรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมาย เมื่อกฎหมาย
ให้อ านาจตน ตนย่อมมีความชอบธรรมที่จะสั่งผู้อยู่ใต้อ านาจให้กระท า หรืองดเว้นการกระท าใดๆ อ านาจตาม
29
กฎหมายนั้นมีก าลังบังคับตามกฎหมายหนุนหลังด้วย
การอ้างความชอบธรรมจากกฎหมายนั้นจะยิ่งสมเหตุสมผล หากระบบกฎหมายนั้นมาจากความ
ยินยอมพร้อมใจของประชาชน อาทิ ประชาชนถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่นั้นเป็นสัญญาประชาคม และการ
26 ดู Green Leslie and Thomas Adams, ‘"Legal Positivism"’ in Edward N. Zalta (ed.) (The Stanford Encyclopedia of Philosophy, 17
December 2019) <https://plato.stanford.edu/archives/win2019/entries/legal-positivism/> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.
27 Jonathan Sumption, ‘In Praise of Politics’ (The Reith Lectures, 28 May 2019) <https://www.bbc.co.uk/programmes/m0005f05> สืบค้น
เมื่อ 1 ธันวาคม 2564.
28 Jack Balkin, ‘Constitutional Crisis and Constitutional Rot’, (2017) 77(1) Maryland Law Review 147, 147-148.
29 David Beetham (เชิงอรรถ 1) 56-57.