Page 13 - 23461_Fulltext
P. 13

4


                       ท้ายที่สุดคือข้อวิจารณ์ต่อภาพรวม ว่าการตรวจสอบที่มีมากมายขึ้นอย่างไม่จ าเป็นกลายเป็นยกให้
               องค์กรตรวจสอบที่มีอ านาจล้นเหลือเหล่านี้กลายเป็นองค์กรเหนือการเมือง (elite constitutional body) ซึ่ง

                                    13
               คอยควบคุมการเมืองอีกมี
                       ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องทบทวนรูปแบบการตรวจสอบการใช้อ านาจที่เป็นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยใน
               ปัจจุบัน เพื่อแสวงหาจุดสมดุล ระหว่างการตรวจสอบการใช้อ านาจ และระบบบริหารราชการแผ่นดินที่มีเหตุมี
               ผล (rational public administration)



                       2. การส ารวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


                       ตั้งแต่ที่รัฐธรรมนูญ 2540 น าเสนอองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบอ านาจรัฐเข้ามาในระบบกฎหมาย
               รัฐธรรมนูญไทย ค าถามเรื่องอ านาจหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกศึกษาอยู่สม่ าเสมอ
                       ตัวอย่างงานที่ศึกษาอ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบอ านาจรัฐ เช่น งานประเมินผล
               การท างานขององค์กรอิสระ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                                                        15
                                                                 14
               ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ งานเหล่านี้มักใช้การส ารวจความคิดเห็นเป็นวิธีวิจัยหลัก และผลที่ได้คือ องค์กรอิสระมัก
               ได้คะแนนความพึงพอใจไม่สูง ทั้งด้านความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพในการด าเนินงาน ซึ่งก็ได้มีข้อแนะน า
               ให้ปรับปรุงขั้นตอนการท างานให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านการตรวจสอบการใช้อ านาจ และ

               ด้านงานให้ความรู้ประชาสัมพันธ์ แต่งานเหล่านี้มุ่งเน้นที่การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรมากกว่าจะตั้ง
               ค าถามว่า องค์กรอิสระดังกล่าวจ าเป็นต้องมีอยู่หรือไม่ และถ้ามีอยู่แล้วท างานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นอย่างไร
               นอกจากงานทั้งสองชิ้นในยุคแรกๆ แล้ว ก็มีการศึกษาองค์กรอิสระต่างๆในลักษณะดังกล่าวเรื่อยมา อาทิ
               การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเห็นว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับส านักงานตรวจเงิน
                                                                                                        16
               แผ่นดินนั้นยังไม่ได้ให้อ านาจแก่เจ้าหน้าที่ คือ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพียงพอแก่การสอบสวนการทุจริต
               แต่ก็ไม่ได้พยายามมองให้ภาพกว้างว่าแล้วกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้นสัมพันธ์กับองค์กรอิสระอื่นๆ อย่างไร
               บ้าง
                       งานศึกษาส่วนมากเจาะลึกไปยังอ านาจบางประการขององค์กรอิสระนั้นๆ เช่น ในกรณีของ

               คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คือ อ านาจสอบสวนในคดีอาญาของนักการเมือง
                                                                                                        17
               อ านาจในการด าเนินการถอดถอนออกจากต าแหน่ง การด าเนินคดีอาญา การด าเนินการเพื่อขอให้ทรัพย์สินตก
                                                                              18
               เป็นของแผ่นดิน การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน การด าเนินการทางวินัย  อ านาจในการจับบุคคลและค้น




               13  Khemthong Tonsakulrungruang, ‘Entrenching the Minority: The Constitutional Court in Thailand’s Political Conflict’ (2017) 26 (2)
               Washington International Law Journal 247, 247-268; Eugenie Merriaeu, ‘Thailand’s Deep State, Royal Power and the Constitutional
               Court (1997–2015)’ (2016) 46 Journal of Contemporary Asia 445.
               14  ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, ‘การประเมินผลการท างานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ: คณะกรรมการการเลือกตั้ง’ (โครงการวิจัย สถาบันพระปกเกล้า 2548).
               15  พนา ทองมีอาคม และคณะ, ‘การประเมินผลการท างานขององค์กรอิสระ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ’ (รายงาน สถาบันพระปกเกล้า 2547);
               นันทวัฒน์ บรมานันท์ และคณะ, การติดตามและประเมินผลการท างานขององค์กรอิสระ: ศาลปกครอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการ
               แผ่นดินของรัฐสภา (ศิริโรจน์การพิมพ์ 2548).
               16  ชญานิน แจ้งกระจ่าง, ‘ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542’ (2558) 2 วารสารนิติศาสตร์
               มหาวิทยาลัยนเรศวร 2558 131.
               17  อาทิตยา กูลประดิษฐ์ศิลป์, ‘บทบาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบความจริงในคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศา
               สตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).
               18  นันทวัฒน์ รัฐนันท์ เนื้อนิ่ม, ‘ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่่ในลักษณะองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช.’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต
               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558).
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18